หลักการและเหตุผล 

        ในการเพิ่มจำนวนบุคลากรทางด้านชีวสารสนเทศเกิดได้จากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาต่อในระดับปริญญาและอาชีพด้านชีวสารสนเทศและสาขาที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยเพิ่มจำนวนนักชีวสารสนเทศได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการส่งเสริมสาขานี้ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เสนอทุนการศึกษาและเงินทุนสำหรับการศึกษาด้านชีวสารสนเทศ และการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะ โดยการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้เชี่ยวชาญที่สนใจเปลี่ยนผ่านสู่ชีวสารสนเทศสามารถช่วยเพิ่มจำนวนนักชีวสารสนเทศได้ ซึ่งอาจรวมถึงการฝึกอบรมในภาษาการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล และอณูชีววิทยา การทำงานร่วมกันการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสาขาต่างๆ เช่น ชีววิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร์ และคณิตศาสตร์ สามารถช่วยส่งเสริมแนวทางแบบสหวิทยาการมากขึ้นสำหรับชีวสารสนเทศ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากขึ้นที่มีพื้นฐานทั้งด้านชีววิทยาและคอมพิวเตอร์ การวิจัยและพัฒนา การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาชีวสารสนเทศสามารถช่วยพัฒนาสาขาและดึงดูดผู้เชี่ยวชาญได้มากขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงเงินทุนสำหรับโครงการใหม่ การพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ และการสนับสนุนกลุ่มวิจัยชีวสารสนเทศ การสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวสารสนเทศสามารถมีบทบาทในการเพิ่มจำนวนนักชีวสารสนเทศโดยการจัดหาเงินทุนเพื่อการศึกษาและการฝึกอบรม เสนอโอกาสในการทำงานและการฝึกงาน และสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

           การเข้าใจภาพรวมทั้งหมดขององค์ประกอบต่างๆ ข้างต้น จะช่วยให้การนำไปสู่การพัฒนากำลังคนของสาขาชีวสารสนเทศเป็นไปอย่างตรงจุด โดยคำถามงานวิจัยที่เกิดขึ้นได้แก่

1.  หลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตอบโจทย์ตลาดแรงงานหรือไม่ และมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานใดเน้นหนักเรื่องทางด้านการแพทย์ การเกษตร หรืออาหาร

2.  ข้อจำกัดในการพัฒนาบุคลากรทางชีวสารสนเทศคืออะไร โอกาสของนักชีวสารสนเทศในต่างจังหวัดเป็นอย่างไร

3.  ความพร้อมเชิงโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเป็นอย่างไร 

4.  มุมมองของนักชีวสารสนเทศในประเทศไทย เหตุใดจึงเลือกอยู่ที่ประเทศไทย

5.  ผู้ประกอบการต้องการจ้างงานนักชีวสารสนเทศที่มีทักษะด้านใดเป็นส่วนใหญ่ และเหตุผลในการจ้างงาน

6.  แนวโน้มการจ้างงานในอนาคต

7.  น้ำหนักของการวิจัยอยู่ใน -omics ระดับใดบ้าง

8.  การวิเคราะห์ข้อมูล Genomics Thailand ต้องใช้เครื่องมือใดและเพื่อตอบคำถามใด

9.  ปัจจุบันมีคอร์สสำหรับการพัฒนาทักษะใดบ้าง เมื่อไหร่ ระยะเวลาเท่าใด จบไปแล้วได้อะไรบ้าง

10. ตัวอย่างงานวิจัยที่เกิดจากนักชีวสารสนเทศในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

11. รูปแบบการจัดประชุมในปีต่อๆ ไปจะเป็นอย่างไร

12. และอื่นๆอีกมากมาย

วัตถุประสงค์

1. เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเข้าใจถึงความต้องการ ปัญหา อุปสรรค และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนักชีวสารสนเทศรวมถึงผู้เกี่ยวข้องทั่วประเทศไทย

2. ส่งเสริมให้ประชาคมวิจัยและบริการ มีความตระหนักรู้ ถึงความสำคัญของชีวสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การเกิดระบบนิเวศของการพัฒนาบุคคลกร

3. นำเสนอช่องทางให้กับนักชีวสารสนเทศ เพื่อให้เข้าถึงหรือเกิดการใช้ทรัพยากรในประเทศ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง High Performance Computing

4. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประชุมเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านชีวสารสนเทศในประเทศไทย เกิดความเข้าใจภาพรวมและความต้องการของตลาดแรงงาน