วัตถุประสงค์


     1. ผู้เรียนสามารถอธิบายความสำคัญและหลักการของการทำ debriefing ในการสอนโดยการใช้ simulation ได้
     2. ผู้เรียนสามารถแสดงทักษะของการเป็น facilitator ใน debriefing session ได้ ได้แก่
           1) ทักษะในการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
           2) ทักษะการถาม
           3) ทักษะการให้ feedback
     3. ผู้เรียนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่มีความหลากหลายของผู้เรียนได้ โดยอาศัยทักษะการสังเกตและการฟังเพื่อการตอบสนอง


เนื้อหาโดยสังเขป

     1. หลักการพื้นฐานของการจัดการเรียนการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง
     2. Principle of debriefing 
     3. What we need for effective debriefing 
     4. Improving the observation skills 
     5. The magic of questioning และฝึกปฏิบัติ Practice: Questioning skills
     6. Constructive feedback: how to make it effectively
     7. How to deal with the difficult situation in debriefing
     8. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ Practice 1: Debriefing in Simulation 
     9. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ Practice 2: How to deal with the disruptive class
    10. สรุปการฝึกปฏิบัติ


กิจกรรมในการดำเนินงาน

เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ มีทั้งการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ


กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมโครงการ

อาจารย์แพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ อาจารย์พยาบาล พยาบาล นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง/ได้รับมอบหมาย/ผู้สนใจการสอนโดยใช้หลักการ Simulation ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ


ระยะเวลา และสถานที่

ระยะเวลาการอบรม 1 วัน คือ วันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 08:00 – 16:00 น. ณ ศูนย์ปฏิบัติการฝึกทักษะระบบจำลอง (SiMSET) ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 10 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และผู้เข้าอบรมออนไลน์


จำนวนผู้เข้าร่วมการอบรม

ประมาณ  16  คน  (จากบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) และผู้เข้าอบรมออนไลน์ ไม่จำกัดจำนวน