โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยพิษวิทยาเบื้องต้น”
Basic Clinical toxicology for medical provider 2024
วันที่ 11-12 มกราคม 2567 เวลา 08.00 – 16:30 น.
ณ อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ชั้น 25
รับสมัคร 20 พฤศจิกายน - 5 มกราคม 2567
หลักการและเหตุผล
การเจ็บป่วยจากการได้รับสารพิษหรือภาวะพิษนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ และเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี คศ. 2016 มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ปวยภาวะพิษรวมทั่วโลก106,683 รายต่อปี และมีการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted -life years, DALYs) 6.3 ล้าน DALYs โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ผู้ป่วยมาห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลทั่วไป ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มภาวะพิษอย่างเหมาะสมจะช่วยลดโอกาสการสูญเสียชีวิตและ DALYsได้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
แต่อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนในหลักสูตรของแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกรนั้นมีโอกาสได้ศึกษาเบื้องต้นในหลักการและการรักษาบางส่วน แต่อาจยังไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องฉุกเฉินที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์อย่างมากภายใต้แรงกดดัน และภาวะพิษนั้นเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกโรงพยาบาล แม้อาจพบไม่บ่อยมากเท่าโรคอื่นๆ แต่มีผลรุนแรงถึงแก่ชีวิตผู้ป่วยได้ อาศัยความรู้และความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้โดยเฉพาะ ดังนั้นในโครงการนี้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้จึงได้ทำการอบรมขึ้นเพื่อช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะพิษ สามารถปรึกษาศูนย์พิษ และสามารถให้การดูแลผู้ป่วยภาวะพิษวิทยาเบื้องต้น รวมถึงเมื่อปรึกษาศูนย์พิษแล้วหากจำเป็นใช้ยาต้านพิษ สามารถบริหารยาเหล่านั้นได้และติดตามผลข้างเคียงจากยาเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และทักษะของหลักการรักษาผู้ป่วยพิษวิทยา ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริหารยาต้านพิษได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถสังเกตผลข้างเคียงของยาต้านพิษเหล่านั้นได้
เนื้อหาโดยสังเขป
การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการและการสาธิตการปฏิบัติการ มีหลักสูตรตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. หลักการการจัดการดูลผู้ป่วยเบื้องต้นเมื่อได้รับสารพิษ
2. ภาวะพิษที่พบได้บ่อยและการบริหารยาต้านพิษในภาวะพิษที่พบได้บ่อย
กลุ่มเป้าหมาย
แพทย์ พยาบาล เภสัชกรหรือบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยพิษวิทยา ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ จำนวน 45 ท่าน
- ภายในคณะฯ (SI, SIPH, GJ)
- ภายนอกคณะฯ