สาขาวิชาตจอาชีวเวชศาสตร์และผื่นแพ้สัมผัส
รายละเอียด
สาขาวิชาตจอาชีวเวชศาสตร์และผื่นแพ้สัมผัส ภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราช ก่อตั้งโดย ศ. คลินิกเกียรติคุณ พญ. พัชรี สุนทรผะลิน เมื่อปี พ.ศ. 2514 เป็นหน่วยตรวจโรคที่บริการตรวจรักษา ทำการทดสอบ และให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคผื่นแพ้สัมผัส ผื่นระคายสัมผัส ผื่นแพ้สัมผัสจากสารร่วมกับแสง และโรคผื่นแพ้สัมผัสเนื่องจากการประกอบอาชีพ โดยผู้ป่วยที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยที่มีผื่นผิวหนังอักเสบที่สงสัยว่าเกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ
ที่ตั้งหน่วยบริการ
คลินิกผื่นแพ้สัมผัส ห้อง 41 หน่วยตรวจโรคผิวหนัง ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 4 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
เบอร์โทรศัพท์ 02-419-7380-1 ต่อ 407 (13.00-15.00)
Line ID: @wes2561m
E-mail: Siriraj.contactderm@gmail.com
Website –
อาจารย์ประจำสาขา
1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรัญญา บุญชัย Professor Waranya Boonchai, M.D., M.Med.Sc.
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศิลดา กนกรังษี Assistant Professor Silada Kanokrungsee, M.D.
3. อาจารย์ แพทย์หญิงพิชานี ฉวีกุลรัตน์ Pichanee Chaweekulrat, M.D.
อาจารย์พิเศษประจำสาขา
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปราณี เกษมศานติ์ Assistant Professor Pranee Kasemsarn, M.D.
เจ้าหน้าที่ประจำสาขา
1. น.ส. มณฑาทิพย์ บุญยะวารี Monthathip Bunyavaree, B.Sc.
2. น.ส. ธิตินันท์ กำแพงสิน Titinun Kumpangsin, B.Sc.
3. น.ส. จณิสตา ธำรงธราดล Janista Thumrongtharadol, B.Sc.
สถานที่และเวลาทำการ
- หน่วยตรวจโรคผิวหนัง ชั้น 4 ห้อง 41 วันจันทร์, พุธ, ศุกร์ เวลา 9.00 – 12.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
- การทำทดสอบต้องนัดหมายล่วงหน้า โดยผู้ป่วยต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยและส่งปรึกษาจากหน่วยตรวจโรคผิวหนังทั่วไป โรงพยาบาลศิริราช หรือได้รับการส่งตัวจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจากโรงพยาบาลหรือคลินิกผิวหนังภายนอกเท่านั้น
- การนัดทำทดสอบ สามารถมาทำนัดตรวจที่หน่วยตรวจโรคผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช หรือนัดผ่านทาง Line official account (Line ID: @wes2561m)
- ผู้ป่วยต้องสามารถมาตรวจติดตามผลได้ทั้ง 3 วันภายในสัปดาห์นั้น
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการตรวจและทำการทดสอบดังต่อไปนี้
1. การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยการปิดบนผิวหนัง (patch test) โดยชุดทดสอบมาตรฐาน และชุดทดสอบจำเพาะ (standard and special series)
2. การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยการปิดบนผิวหนัง ร่วมกับการฉายแสง (photopatch test)
3. ประเมินผื่นแพ้สัมผัสเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ (occupational skin disease assessment)
4. การทดสอบผื่นแพ้ยา (drug patch test)
5. การทดสอบผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic patch test)
6. ตรวจสอบข้อมูลส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ด้วยโปรแกรม Contact Allergen Avoidance Program (CAAP)
7. จัดทำคำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ
8. จัดทำคำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ก่อนและหลังการทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังโดยการปิดบนผิวหนัง
9. การทดสอบการระคายเคืองต่อผิวของผลิตภัณฑ์ (irritation test)
การส่งตรวจเพิ่มเติม หรือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทำได้ในผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการส่งตรวจเพิ่มเติม
• ผื่นผิวหนังจากการติดเชื้อรา (potassium hydroxide preparation)
• ผื่นแพ้ยา สามารถส่งตรวจ lymphocyte transformation test for drug hypersensitivity
• ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถส่งตรวจ total and specific immunoglobulin E level
คลินิกนอกเวลาราชการ ไม่เปิดให้บริการนอกเวลาราชการ
© 2018 Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. All rights reserved.