คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงต่อการฉีดวัคซีน สำหรับพยาบาล
คุณมีอายุต่ำกว่ํา 18 ปี
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
หากมีอายุต่ำกว่า18 ปี ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ | ขณะนี้วัคซีน Sinovac และ AstraZeneca ยังไม่ได้ รับการรับรองให้ฉีดในคนที่อายุต่ากว่า 18 ปี ให้รอฉีดวัคซีนที่ทางกระทรวงจะจัดสรรให้ |
คุณเคยมีประวัติแพ้วัคซีน หรือแพ้ยา หรือส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
การแพ้วัคซีน |
- เคยมีประวัติการแพ้วัคซีนโควิดป้องกันโรคอื่นๆอย่างรุนแรง ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ - เคยมีประวัติแพ้วัคซีนโควิดเข็มแรกอย่างรุนแรง ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
คนที่เคยแพ้วัคซีนแบบรุนแรงมาก่อน และคนที่เคยแพ้วัคซีนโควิดเข็มแรกแบบรุนแรง หรือมี ลมพิษหลังฉีด “ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน เพื่อรับการประเมินและดูแลอย่าง เหมาะสม” อย่างรุนแรง : อาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือภายใน 2 ชั่วโมงหลังการฉีดวัคซีน (ส่วน ใหญ่เกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน) ได้แก่ ผื่นลมพิษทั่งตัว อาการบวมของปาก/เปลือก ตาร่วมกับหายใจเสียงหวีด ความดันโลหิตต ่า ถ่ายเหลว อาเจียน เป็นต้น |
การแพ้อาหาร | เคยมีประวัติการแพ้อาหารเช่น อาหารทะเล ไข่ ถั่ว แป้ง สาลี และ อาหารอื่น ฉีดวัคซีน ได้หรือไม่ | ฉีดได้ |
การแพ้ยา | เคยมีประวัติการแพ้ยา ฉีดวัคซีน ได้หรือไม่ เช่น แพ้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน ซัลฟา เป็นต้น ยาแก้ปวดลดไข้เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเพน เป็นต้น ยารักษาโรคเกาต์ แพ้ยากันซักหรือยาชนิดอื่น แพ้สารทึบรังสี (radiocontrast media) | ฉีดได้ และสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีนจนครบ 30 นาที |
คุณเคยได้รับการถ่ายเลือด พลาสมา ผลัตภัณฑ์จากเลือด ส่วนประกอบของเลือด อิมมูโนโกลบูลนิ ยาต้านไวรัส หรือแอนติบอดีสา หรับการรักษาโควดิ-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่าน มา
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
การถ่ายเลือด ผลิตภัณฑ์จาก เลือด เพื่อการรักษาโควิด-19 |
ผู้ที่เคยได้รับการถ่ายเลือด พลาสมา ผลัตภัณฑ์จากเลือด ส่วนประกอบของเลือด อิมมูโนโกลบูลิน ยาต้านไวรัส หรือ แอนติบอดีสำหรับการรักษาโควิด-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
ห้ามฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดหลังได้รับ การถ่ายเลือด ผลิตภัณฑ์จากเลือด เพื่อการรักษาโควิด19 3 เดือน |
คุณได้ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
ผู้ที่ได้รับการตรวจพบเชื้อโควิด-19ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ฉีดได้ หรือไม่
|
ห้ามฉีดวัคซีน แนะนำให้มารับวัคซีนโควิด 19 หลังจากการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน |
|
ผู้ที่เคยมีประวัติเป็น โรคโควิด-19 มาก่อน ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีน โควิด 19 หรือไม่ | ควรฉีด โดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจ การติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน แม้จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ในร่างกาย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ครั้ง ต่อไปและยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ดังนั้นแม้จะเคยเป็นมาก่อน ก็ไม่ทำให้ มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน โดยอาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม |
คุณมีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ เช่น เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น เป็นต้น
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
โรคประจำตัวต่างๆ |
มีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน และออกใบรับรองแพทย์ ว่าสามารถรับ วัคซีนได้ |
Upper Respiratory Infection | เป็นหวัด มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ | ฉีดได้กรณีไม่มีไข้ หากมีไข้ร่วมด้วยไม่ควรฉีด |
ความดันโลหิตสูง |
โรคความดันโลหิตสูง ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ - กรณีที่เป็นความดันโลหิตสูงควรกินยาลดความดันโลหิตที่ใช้ ประจำก่อนมาฉีดวัคซีน |
ฉีดได้ หากควบคุม BP ได้ดีและ BP ไม่เกิน160/100 mmHg สามารถฉีดได้ - หากความดันโลหิตสูงกว่า 160/100 mmHg และไม่มีอาการผิดปกติ ให้นั่งพักประมาณ 15- 30 นาที (หรือกินยา หากไม่ได้ กินยาเดิมมา) แล้ววัดซ้ำ ถ้าความดันลดลงต่ำกว่า 160/100 mmHg ให้ฉีดได้ หากไม่ลดลงแนะนำให้รักษาควบคุม ความดันโลหิตให้ดีขึ้นก่อนรับวัคซีน |
ไตวายเรื้อรัง | ไตวายระยะสุดท้าย แต่ยังไม่ได้เปลี่ยนไต ไม่ได้กินยากดภูมิคุ้มกัน ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ | ฉีดได้ |
โรคหลอดเลือดหัวใจ | โรคหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจล้มเหลว เฉียบพลัน ฉีดวัคซีนได้หรือไม | ให้รอจนกว่าอาการจะดีขึ้นและคงที่จึงจะฉีดวัคซีนได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน |
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ | Arrhythmia ฉีดวัคซีนได้ไม | ฉีดได้ หากควบคุมอาการของโรคได้ดีแล้ว |
โรคประจำตัวอื่นๆ | โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคระบบเลือดและไขกระดูก ฉีดวัคซีนได้ไม่ | ฉีดได้ |
กลุ่มโรคมะเร็ง เช่น ปอด เต้า นม ลำไส้ ตับ รังไข่ เลือด เป็นต้น |
-อยู่ระหว่างการตรวจติดตาม -ได้รับยาเคมีบำบัดที่มฤีทธิ์ทำลายเซลล์ -ได้รับยามะเร็งชนิดมุ่งเป้า -ได้รับยามะเร็งชนิดภูมิคุ้มกันบำบัด -กำลังฉายแสง |
ควรฉีดวัคซีนทันทีเมื่อมีความพร้อมของวัคซีน |
- กำลังฉายแสง ร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด - กำลังฉายแสงแบบครอบคลุมทั้งตัว |
ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนการฉีดวัคซีน | |
กำลังได้รับยาเคมีบำบัด หรือกำลังจะผ่าตัด | ควรฉีดวัคซีนแต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม | |
ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ |
ควรฉีด เมื่อร่างกายฟื้นตัวจากการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ห่างจากวันผ่าตัดอย่างน้อย 3 วัน |
|
ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิวคีเมีย และ มัยอีโลมา |
ควรฉีด ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภูมิต้านทานต่ำ หากติดเชื้อไวรัสอาจเกิดอาการรุนแรงได้ |
|
ผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา ควรฉีดวัคซีนเมื่อใด |
ฉีดได้ ตั้งแต่แรกวินิจฉัย ระหว่างรับการรักษา หรือเมื่อรักษาครบแล้ว - ระหว่างรับการรักษา ใหแ้พทย์ผู้ดูแลพิจารณา โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในช่วงที่มีเม็ด เลือดขาวต่ำรุนแรง - ผู้ที่ได้รับ การรักษาด้วยยามุ่ง เป้าการสร้างภูมิคุ้ม กันหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจต่ำ กว่าในคนปกติ |
|
ผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือด | ผู้ป่วยมะเร็งระบบเลือดที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก | ควรฉีดหลังจากรักษาครบ 3 เดือน และควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน |
กลุ่มปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด/ การรักษาโดยเซลล์บำบัด |
- ได้รับการปลูกถ่ายโดยใช้เซลล์จากตนเอง - ได้รับการปลูกถ่ายโดยใช้เซลล์จากคนอื่น - ได้รับภูมิคุ้มกันบำบัดโดยวิธีCAR T cells |
เว้นระยะอย่างน้อย 3 เดือน หลังจากได้รับการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด หรือการรักษาโดย เซลล์บำบัด |
โรคทางโลหิตวิทยา | ผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรรับการฉีดวัคซีนหรือไม่ |
ควรฉีด โดยขึ้นกับการอนุมัติให้ใช้วัคซีนตามกลุ่มอายุของผู้ป่ วย - ผู้ที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป รับวัคซีนโควิด-19 ได้ทุกชนิดในไทย - ผู้ที่มีอายุ< 18 ปี ขึ้นกับชนิดของวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ |
ผู้ป่วยโรคไขกระดูกฝ่อ ไขกระดูกทำงานผิดปกติ ควรรับการฉีดวัคซีน หรือไม่ |
ควรฉีด เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทางต่ำ หากติดเชื้อไวรัส อาจเกิดอาการรุนแรงได้ |
|
ผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยาที่รับการรักษาด้วยการปลุกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือภูมิคุ้มกันบำบัด CAR-T ควรรับการฉีดวัคซีนหรือไม่ |
ควรฉีด ในเวลาที่เหมาะสม โดยรับการฉีดวคัซีนหลังปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือภูมิคุ้มกันบำบัด CAR-Tcell6 เดือน เพื่อ ให้วัคซีนสามารถกระตุ้น ภูมิต้านทานได้ดี *ช่วงเวลาที่เหมาะสม ขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ดูแล |
|
ผู้ดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยโรคทางโลหิตวิทยา ควรรับการฉีดวัคซีนหรือไม่ |
ควรฉีด เพื่อลดโอกาสติดเชื้อของผู้ดูแล ซึ่งอาจแพร่เชื้อใหแ้ก่ผูป่วยได้ |
|
โรคลมชัก | โรคลมชัก ฉีดวัคซีนได้หรือไม | ขอใบรับรองแพทย์ก่อนฉีด |
โรคหอบหืด |
โรคหอบหืด ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ - ผู้ป่วยโรคหืดที่ได้รับยาชีวโมเลกุล เช่น omalizumab, benralizumab, dupilumab ควรฉีดวัคซีนทุกชนิดห่างจากการได้รับ ยาชีวโมเลกุลอย่างน้อย 7 วัน |
ฉีดได้ โรคหอบหดืที่ยังควบคุมไม่ได้: มีอาการกำเริบจนต้องใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน หรือฉีด ควรควบคุมอาการให้สงบก่อนการฉีดวัคซีน - ผู้ป่วยโรคหืด ที่ใช้ยาสูดสเตียรอยด์และยาประจำตัวโรคหืดอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้อง หยุดยาก่อนไปฉีดวัคซีน |
ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ไต ตับ หัวใจ | ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ไต ตับ หัวใจ ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
เกณฑ์ที่ฉีดวัคซีนได้ -อายุมากกว่า 18 ปี - ปลูกถ่ายอวัยวะมาแล้ว อย่างน้อย 3เดือน - การทำงานของอวัยวะที่เปลี่ยนอยู่ในเกณฑ์ปกติ - ได้รับยากดภูมิในขนาดต่ำ และไม่ได้อย่างในช่วงการปรับขนาดและชนิดของยากดภูมิ เกณฑ์ที่ควรชะลอการฉีดวัคซีน หรือรักษายังไม่ครบ - มีการติดเชื้อที่ยังควบคุมไม่ได้ หรือยังรักษาไม่ครบ - ตั้งครรภ์ - มีภาวะสลัดอวัยวะภายใน 1 เดือนก่อนหน้า - ได้รับวัคซีนป้ องกันโรคชนิดอื่นภายใน 1เดือนก่อนหน้า |
ผู้บริจาคอวัยวะ | ผู้บริจาคอวัยวะ ฉีดวัคซีนได้หรือไม | ควรฉีด |
โรคทางจิดเวช | ผู้ป่วยจิตเวช กำลังได้รับยารักษาทางจิตเวช ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ | ขอใบรับรองแพทย์ก่อนฉีด |
คุณมีอาการเกี่ยวกับสมอง หรือระบบประสาทอื่นๆ
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
กรณีมีอาการเกี่ยวกับสมอง หรือ ระบบประสาทอื่นๆ ฉีดวัคซีนได้ หรือไม่ |
แนะนำปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนรับวัคซีน โดยก่อนรับวัคซีนควรมีอาการทางระบบ ประสาทคงที่อย่างน้อย 4 สัปดาห์ |
|
Stroke TIA พากินสัน สมอง เสื่อม โรคเซลล์สั่งการเสื่อม โรค เส้นประสาท | โรคเกี่ยวกับสมอง หรือระบบประสาท ฉีดวัคซีนได้ไม | แนะนำฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีอาการไม่คงที่ |
คุณอย่รูะหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
หญิงตั้งครรภ์ |
วัคซีน Sinovac และ AstraZeneca ฉีดยี่ห้อไหน |
ฉีดได้ ทั้ง 2 ชนิด แต่มีข้อสังเกตว่า Sinovac มีอัตราการเกิดไข้น้อยกว่า AstraZeneca วัคซีนทั้ง 2 ชนิดปลอดภัย และประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน |
ขณะตั้งครรภ์ | ตั้งครรภ์อยู่ ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
ควรฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (3 เดือน) สตรีตั้งครรภ์สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นกรณีที่มีข้อห้าม เช่น มีอาการแพ้รุนแรงจาก การฉีดครั้งแรก |
ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคชนิดอื่นๆได้ หรือไม่ |
เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์ - ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิดอื่นๆ ยกเว้นมีความ จำเป็น |
|
อยู่ระหว่างให้นมบุตร | ให้นมบุตรฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ถ้าฉีดวัคซีนได้ ต้องเว้นการให้นมหรือไม่ นานเท่าใด |
ฉีดได้ ไม่จำเป็นต้องเว้นการให้นมบุตร ไม่จำเป็นต้องบีบน้ำนมออก |
การวางแผนตั้งครรภ์ | สตรีที่วางแผนจะตั ้งครรภ์ ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ | แนะนำให้คุมกำเนิดไปก่อน นับจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างน้อย 1เดือน |
มีประจำเดือน | ขณะมีประจำเดือนฉีดวัคซีนได้หรือไม่ | ฉีดได้ |
คุณมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือได้รับยากด ภูมิคุ้มกัน ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
แนะนำปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพื่อพิจารณาและขอใบรับรองแพทย์ รับรองว่าสามารถรับวัคซีนได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการรบัวคัซีนขึ้นกับชนิดและขนาดยากดภูมิทีกินอยู่ |
|
ผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV | ผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV คนไหน ควรได้รับการฉีดวัคซีนก่อน | ควรฉีดวัคซีนทุกคน เพราะหากติดโควิด-19แล้วจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีHIV |
จำเป็นต้องแจ้งหรือไม่ว่าเป็นผู้ที่อยู่ร่วมกับ HIV | ไม่จำเป็นต้องแจ้ง เนื่องจากไม่ต้องมีการตรวจ หรือเฝ้าระวังใดๆที่แตกต่างไปจากผู้ที่ไม่มี HIV | |
ยาต้านไวรัสที่ใช้รักษา HIV อยู่ มีผลในการป้องกันโควิด-19 หรือไม่ | ไม่มี | |
วัคซีนโควิด-19 มีปฏิกิริยากับยาต้านไวรัสหรือไม่ | ไม่มี | |
คนอยู่ร่วมกับ HIV มีผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมากขึ้นหรือไม | ไม่มีผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนที่แตกต่างไปจากคนที่ไม่มีHIV | |
ประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นอย่างไร | เช่นเดียวกับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนโควิด-19 ในผู้อยู่ร่วมกับHIV “ที่มี ระดับ CD4 ต่ำ” อาจจะขึ้นไม่สูงเท่า หรืออยู่ได้ไม่นานเท่าภูมิคุ้มกันที่เกิดในผู้อยู่ร่วมกับ HIV ที่มีระดับ CD4 สูง หรือผู้ที่ไม่มีHIV | |
ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ต้องหยุดฉีดวัคซีนอื่นหรือไม่ | เว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ขึ้นไป หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงฉีดวัคซีนป้ องกันโรคอื่นๆ ได้เช่น วัคซีนป้ องกันไข้หวัดใหญ่ เป็ นต้น |
คุณมีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
ภาวะเลือดออกง่าย |
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกง่าย เกล็ดเลือดต่ำหรือทำงานผิดปกติ ทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือการแข็งตัวของเลือด ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ |
ฉีดได้ แนะนำให้ใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก (25G หรือ 27G) หลังฉีดวัคซีนให้กดนานประมาณ 5 นาที ด้วยตัวเอง จากนั้นประคบด้วยน้ำแข็งหรือเจลประคบเย็นได้ |
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดวอร์ ฟาริน | ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ป่วยที่ทานยาต้านการแข็งตัว ของเลือดวอร์ฟาริน |
แนะนำให้ตรวจ INR ภายใน 1 สัปดาห์ - INR < 3 สามารถฉีดวัคซีนได้ โดยไม่ต้องหยุดยา หรือปรับขนาดยา - หากไม่มีผล INR แต่ระดับ INR ก่อนหน้านี้อยู่ระดับ 2-3 มาโดยตลอด สามารถฉีดวัคซีนได้ - หากไม่ทราบผล INR แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัว และออกใบรับรองแพทย์ว่า สามารถฉีดวัคซีนด้ |
กินยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel, Cilostazol |
ฉีดได้ - ควรใช้เข็มขนาดเล็กกว่า23G และไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีด - ควรกดตำแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก |
|
กินยากลุ่ม NOACs เช่น Dabigatan, Rivaroxaban, Apixaban และ Edoxaban |
ฉีดได้ - ควรใช้เข็มขนาดเล็กกว่า23G และไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีด - ควรกดตำแหน่งที่ฉีดหลังการฉีดยานานกว่าปกติจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเลือดออก |
คุณมีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือ นอนรักษาตัวและออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
อาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือ นอนรักษาตัวและออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน |
ให้เลื่อนการรับวัคซีนออกไปก่อน และส่งปรึกษาแพทย์ |
คุณกำลังมีอาการป่วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
มีอาการป่วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ |
- หากมีไข้ หรือเจ็บป่ วยควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน - หากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด -19 แนะนำให้ตรวจวินิจฉัย จนทราบผลวินิจฉัย หรือ อาการหายดี - กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้ หรือส่งปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด |
คำถามอื่นๆ
ประเด็นคำถาม | คำถาม | คำตอบและคำอธิบาย |
การ swab หลังฉีดวัคซีน |
ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว พอไปทำ nasal swab จะทำให้เกิดผล false positive หรือไม |
ไม่ทำให้เกิด false positive nasal swab เป็นการตรวจหาเชื้อ COVID-19 virus ไม่ใช่ตรวจหา antibody ต่อเชื้อCOVID-19 virus |
การสลับวัคซีน | วัคซีนโควิด 19 ต่างชนิด/ยี่ห้อ สามารถฉีดสลับกัน (Interchangeable) ได้หรือไม | ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษารองรับกรณีการฉีดสลับยี่ห้อ จึงยังคงแนะนำให้ฉีดยี่ห้อเดียวกันไป ก่อน จนกว่าจะมีการศึกษาวิจัยออกมาเพิ่มเติม |
การฉีดวัคซีนยี่ห้ออื่น หลังจาก ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว | หากผู้ป่วยอยากฉีดวัคซีนของบริษัทอื่น เช่น Pfizer, Moderna หลังจากฉีดวัคซีน Sinovac หรือ AstraZeneca ครบ 2 เข็มแล้ว |
สามารถรับวัคซีนของบริษัทต่างๆได้หลังจากที่ได้รับชนิดใดชนิดหนึ่งครบแล้ว แต่ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนให้เลือกซื้อได้ และขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลของการรับวัคซีนเพิ่มเติม จาก 1-2เข็ม ตามคำแนะนำของแต่ละบริษัท |
การบริจาคโลหิต | การบริจาคโลหิตหลังการฉีดวัคซีน ได้เมื่อไร |
- กรณีได้รับวัคซีน COVID-19 ที่ได้รับการรับรองจากอย. เว้น 7 วัน บริจาคโลหิตได้ - กรณีมีอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน ขอให้หายดีก่อน เว้น 7-14วัน ตามความรุนแรงของ อาการ บริจาคโลหิตได้ |
วัคซีนฉีดแล้วสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้หรือไม่ | วัคซีนที่ผลิตในปัจจุบันพัฒนามาจากไวรัสที่ระบาดในช่วงแรก จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพ ในการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้ลดลง อย่างไรก็ดีผลกระทบของไวรัสกลายพันธุ์ต่อ ประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละ ชนิดจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป อาจเป็นไปได้ว่าต้องมีการฉีดวัคซีนต่อไวรัสที่กลายพันธุ์ ซ้ำในอนาคต | |
กิจกรรมที่ห้ามทำก่อน และหลัง การฉีดวัคซีน | กิจกรรมที่ห้ามทำก่อน และหลังการฉีดวัคซีน มีหรือไม่ |
- สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ เช่น การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งชา กาแฟ ยาต่างๆ และทำงานได้ตามปกติ - ไม่ควรออกกำลังกายหนักกว่าที่เคยทำปกติ หรือพักผ่อนน้อยกว่าปกติ ในช่วง 1-2 วันก่อน และหลังการฉีดวัคซีน |
หากจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ เช่น วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนบาดทะยัก ด้วย จะฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ |
ฉีดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลา แต่ให้ฉีดที่ตำแหน่งต่างกัน - กรณีต้องการสังเกตอาการ/ ผลไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีนแต่ละชนิด อาจเว้น ระยะเวลาห่างกัน ประมาณ 1 สัปดาห์ |
เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ ร.พ. ศิริราช
หน่วยงาน | เบอร์โทรศัพท์ |
ประสารงาน Code ฉุกเฉินทางการแพทย์ | 909 |
ห้องฉุกเฉิน รพ. ศิริราช | 98939 และ 97349 |
Activate Acute Stroke fast track โทร.แจ้งห้องฉุกเฉิน แล้วส่งผู้ป่วยไปห้องฉุกเฉิน |
99499 |
หน่วยแพ้ยาฝ่ายเภสัชกรรม(ในเวลาราชการ) | 99555 |
ศูนย์พิษวิทยา(นอกเวลาราชการ) | 97007 |
หน่วย PHN (อุปกรณ์ปฐมพยาบาล) | 97419 |
หน่วยฉีดวัคซีน หอประชุมราชแพทย์ | 41382 |
หน่วยฉีดวัคซีน คณะพยาบาลศาสตร์ | 41384 |
หัวหน้าหน่วยเคลื่อนย้าย | 98405 |
เอกสารอ้างอิง
1. ประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ 06/2564 เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ในสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีให้นมบุตร ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564
2. Infographic คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดในการฉีดวัคซีนโควิด-19โดยสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย (version 1 วันที่ 18 พฤษภาคม 2564)
3. Infographic ข้อควรพิจารณา การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดย สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
4. Infographic Q&A ตอบข้อสงสัยการฉีดวัคซีนโควิด-19 ส าหรับผู้ที่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้วัคซีนมาก่อน โดยสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย (Version 1 วันที่ 18 พฤษภาคม 2564)
5. Infographic ถาม-ตอบ เกี่ยวกับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนโควิด-19ในผู้ป่ วยโรคทางโลหิตวิทยา โดยสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
6. Infographic วัคซีนโควิด-19 ผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี โดยสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย
7. Infographic คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีกับวัคซีน COVID-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2564) โดย สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย
8. Infographic เกณฑ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ตับ หัวใจ โดย ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
9. Infographic บุคคลผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั้งก่อนและหลังการฉีด ใน แนวทางเวชปฏิบัติการให้วัคซีนโควิด 19 แก่ผู้ใหญ่และผู้ป่วยอายุรกรรม โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 10) แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดในปี 2564 ของประเทศไทย โดย กรมควบคุมโรค กุมภาพันธ์ 2564
คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงต่อการฉีดวัคซีน | [ ] | 715 kB | 2021-06-02 16:09 |