“หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ครึ่งตัว” เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนทางการแพทย์ในยุคแรกเพื่อใช้ทดแทนการผ่าร่างกายมนุษย์ ผลิตด้วยเทคนิค papier-mâché ตัวหุ่นแสดงให้เห็นอวัยวะภายในของช่องอกและช่องท้อง สามารถจับแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบเข้า-ออกได้ ไม่ว่าจะเป็น ปอด ตับ ลำไส้ เป็นต้น มีสีสันสวยงาม หุ่นจำลองที่ทำจาก papier-mâché ใช้มาจนถึงราว พ.ศ. 2439 จึงเปลี่ยนมาใช้ศพสดสำหรับเรียนวิชามหกายวิภาคศาสตร์ต่อไป
อายุสมัย : | พ.ศ. 2446 |
---|---|
ลักษณะ : | หุ่นจำลอง |
วัสดุ : | กระดาษ |
ขนาด : | กว้าง 91 ซม. สูง 91.5 ซม. ยาว 100.5 ซม. |
อายุสมัย : | ต้นรัตนโกสินทร์ |
---|---|
ลักษณะ : | แผ่นโลหะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
วัสดุ : | ทองเหลือง |
กล่องที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายเป็นกุศลทานและเป็นสิ่งระลึกถึงพระโอรส ตัวกล่องทำจากกะไหล่ทอง มีวิธีการทำคือ นำทองไปผสมกับปรอทแล้วนำไปเคลือบบนโลหะที่เป็นตัวกล่อง จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อนเหลือแต่ทองติดผิวโลหะที่ดุนลายเป็นรูปหงส์ในบึงบัว หงส์ หมายถึงองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถซึ่งเป็นพระมารดา ส่วนฝากล่องเป็นกระเบื้องเขียนพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ มีทั้งแบบสีและขาว-ดำ ตัวตลับฝาสีต่างกับตัวตลับฝาขาวดำคือ กล่องฝาสีมีลายดุนของหงส์ที่นูนกว่า และมีรองพื้นสีฟ้าซึ่งเป็นการลงยาแบบราชาวดี สำหรับพระราชทานเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์
อายุสมัย : | พ.ศ. 2430 |
---|---|
ลักษณะ : | กล่อง |
วัสดุ : | โลหะเเละเซรามิก |
ขนาด : | สูง 21 ซม. |
“เฉลว” เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานเกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวไทยมาแต่โบราณ หรือใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกหรือสัญลักษณ์ การทำเฉลวนั้นจะใช้ตอกขัดสานกันเป็นมุมแฉกๆ มีตั้งแต่ 3 แฉก 5 แฉก 6 แฉก 8 แฉกไปจนถึง 12 แฉก แล้วเหลือปลายตอกข้างหนึ่งให้ยาวออกมาไว้สำหรับปักลงบนสิ่งที่ต้องการ จำนวนแฉกที่ต่างกันจะสื่อความหมายที่แตกต่างกันไป เช่น เฉลว 3 แฉก จะลงอักขระ มะ อะ อุ หมายถึงขอให้อำนาจพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงประสาทพรให้หายป่วย ส่วนเฉลว 5 แฉก จะลงอักขระพระเจ้า 5 พระองค์คือ นะโมพุทธายะ และเฉลว 8 แฉก จะลงอักขระ อิติปิโสแปดทิศทาง เชื่อว่าการนำเฉลวปักลงบนหม้อยาทำให้ยานั้นเป็นยาศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์ทำให้รักษาโรคภัยต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
เหมือนตาชะลอมหรือเข่งปลาทู มีตั้งแต่ 3 แฉก 5 แฉก 6 แฉก 8 แฉก ไปจนถึง 12 แฉก แล้วเหลือปลายตอกข้างหนึ่งให้ยาวออกมาไว้สำหรับปักลงบนสิ่งที่ต้องการ
อายุสมัย : | รัตนโกสินทร์ |
---|---|
วัสดุ : | ตอกไม้ไผ่ |
อายุสมัย : | สมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
---|---|
วัสดุ : | ดินเผาเคลือบ |
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
และนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ส่งคำตอบ