พิพิธภัณฑ์ศิริราช...
จบไปแล้วสำหรับกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ.2567 ซึ่งปีนี้มาในธีม "เด็กน้อยนักประดิษฐ์ พิชิตพิพิธภัณฑ์" ตลอดทั้งวันเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ความสนุก และความประทับใจ จากกิจกรรมสร้างสรรค์สอดแทรกความรู้จากพิพิธภัณฑ์ศิริราช
วันที่ 28 ธันวาคม วันคล้ายวันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เข้าสักการะประติมากรรมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ โถงต้อนรับ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11.30 น. ร่วมชมนิทรรศการวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพิธีเปิดกิจกรรม "ท่องพระราชวังเดิม" ณ โถงต้อนรับพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน และเวลา 13.00 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางไปพระราชวังเดิมเพื่อเข้าชมพิพิธภัณฑ์โดยมีวิทยากรพิเศษ คุณวทัญญู เทพหัตถี มาบรรยายให้ความรู้และช่วงท้ายกิจกรรมได้มีการถ่ายรูปรวมหมู่คณะและมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร
วันที่ 20 – 28 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00น. ณ โถงจำหน่ายบัตร พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ร่วมสักการะพระบรมรูปต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ชมแผนที่กรุงธนบุรีที่วาดโดยสายลับพม่า เรียนรู้เรื่องราวการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช ขอเชิญร่วมกิจกรรมวันดินโลก "ดินดี น้ำสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต" ในวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-11.30 น. ณ ห้องคมนาคมบรรหาร พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานฃรับชมภาพยนตร์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรรับฟังบรรยายพิเศษเนื่องในวันดินโลก โดยคุณนภันต์ เสวิกุล อดีตช่างภาพตามเสด็จฯ และที่ปรึกษากรมพัฒนาที่ดินพิเศษสุด สำห...
“หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ครึ่งตัว” เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนทางการแพทย์ในยุคแรกเพื่อใช้ทดแทนการผ่าร่างกายมนุษย์ ผลิตด้วยเทคนิค papier-mâché ตัวหุ่นแสดงให้เห็นอวัยวะภายในของช่องอกและช่องท้อง สามารถจับแยกชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบเข้า-ออกได้ ไม่ว่าจะเป็น ปอด ตับ ลำไส้ เป็นต้น มีสีสันสวยงาม หุ่นจำลองที่ทำจาก papier-mâché ใช้มาจนถึงราว พ.ศ. 2439 จึงเปลี่ยนมาใช้ศพสดสำหรับเรียนวิชามหกายวิภาคศาสตร์ต่อไป
อายุสมัย : | พ.ศ. 2446 |
---|---|
ลักษณะ : | หุ่นจำลอง |
วัสดุ : | กระดาษ |
ขนาด : | กว้าง 91 ซม. สูง 91.5 ซม. ยาว 100.5 ซม. |
อายุสมัย : | ต้นรัตนโกสินทร์ |
---|---|
ลักษณะ : | แผ่นโลหะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
วัสดุ : | ทองเหลือง |
กล่องที่ระลึกงานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายเป็นกุศลทานและเป็นสิ่งระลึกถึงพระโอรส ตัวกล่องทำจากกะไหล่ทอง มีวิธีการทำคือ นำทองไปผสมกับปรอทแล้วนำไปเคลือบบนโลหะที่เป็นตัวกล่อง จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อนเหลือแต่ทองติดผิวโลหะที่ดุนลายเป็นรูปหงส์ในบึงบัว หงส์ หมายถึงองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถซึ่งเป็นพระมารดา ส่วนฝากล่องเป็นกระเบื้องเขียนพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ มีทั้งแบบสีและขาว-ดำ ตัวตลับฝาสีต่างกับตัวตลับฝาขาวดำคือ กล่องฝาสีมีลายดุนของหงส์ที่นูนกว่า และมีรองพื้นสีฟ้าซึ่งเป็นการลงยาแบบราชาวดี สำหรับพระราชทานเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์
อายุสมัย : | พ.ศ. 2430 |
---|---|
ลักษณะ : | กล่อง |
วัสดุ : | โลหะเเละเซรามิก |
ขนาด : | สูง 21 ซม. |
“เฉลว” เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานเกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวไทยมาแต่โบราณ หรือใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกหรือสัญลักษณ์ การทำเฉลวนั้นจะใช้ตอกขัดสานกันเป็นมุมแฉกๆ มีตั้งแต่ 3 แฉก 5 แฉก 6 แฉก 8 แฉกไปจนถึง 12 แฉก แล้วเหลือปลายตอกข้างหนึ่งให้ยาวออกมาไว้สำหรับปักลงบนสิ่งที่ต้องการ จำนวนแฉกที่ต่างกันจะสื่อความหมายที่แตกต่างกันไป เช่น เฉลว 3 แฉก จะลงอักขระ มะ อะ อุ หมายถึงขอให้อำนาจพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจงประสาทพรให้หายป่วย ส่วนเฉลว 5 แฉก จะลงอักขระพระเจ้า 5 พระองค์คือ นะโมพุทธายะ และเฉลว 8 แฉก จะลงอักขระ อิติปิโสแปดทิศทาง เชื่อว่าการนำเฉลวปักลงบนหม้อยาทำให้ยานั้นเป็นยาศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์ทำให้รักษาโรคภัยต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
เหมือนตาชะลอมหรือเข่งปลาทู มีตั้งแต่ 3 แฉก 5 แฉก 6 แฉก 8 แฉก ไปจนถึง 12 แฉก แล้วเหลือปลายตอกข้างหนึ่งให้ยาวออกมาไว้สำหรับปักลงบนสิ่งที่ต้องการ
อายุสมัย : | รัตนโกสินทร์ |
---|---|
ลักษณะ : | dfsdf |
วัสดุ : | ตอกไม้ไผ่ |
อายุสมัย : | สมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
---|---|
วัสดุ : | ดินเผาเคลือบ |
It is an informative museum which tells about the history of Siriraj Hospital, the development of medicine and medical education in the historical context. It also gives information about the traditional Thai medicine which relies on philosophical ideas and exists together with modern medicine. It is an important point to note that traditional Thai medicine complements modern medicine in Thailand rather than being excluded. Thailand is now a country where you can have quality healthcare service in government hospitals with reasonable prices in contrast to some people who think that Thailand is underdeveloped in healtcare service. In fact, as a person I have been to Thai hospitals for operation and health problems often I can say that the healtcare is service here is better than that of many Western countries.
ฝั่งนิติเวชน่าสนใจมากค่ะ เก็บค่าเข้าคนละ80ถือว่าคุ้มค่าเลย ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงถึง1ชั่วโมงในการชม ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพแต่ก็คิดว่าเหมาะสมแล้วค่ะที่ไม่อนุญาต ถ้าของใหญ่มีล็อกเกอร์ให้ฝากของฟรี มีร้านกาแฟเล็กๆด้วยค่ะ ส่วนใหญ่เป็นชาวค่างชาติเข้าชม ถ้ามีเวลามากกว่านี้จะกลับมาชมอีกรอบแน่นอนค่ะ
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สุดยอด! คุ้มค่าแก่การเข้าชม และ ยังได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เพิ่มขึ้้นด้วย แนะนำเป็นอย่างยิ่ง
If you're considering a visit to the Siriraj Museum in Bangkok, be ready for an experience unlike any other. Known as the "Museum of Death," this place is not for the weak-hearted. I went on October 24, and what I saw was unforgettable. The displays include preserved bodies of infants, skulls of victims, a preserved mummy-like body, and belongings of murder victims. There are also forensic reports and other chilling artifacts from real-life cases. Picture-taking is prohibited, so I didn't take any photos inside, but I kept my ticket as a souvenir – a little reminder of the intense experience. This isn't your usual museum; it dives into the darker sides of medicine, pathology, and forensic science, giving visitors a raw glimpse into the reality of life, death, and tragedy. If you're easily disturbed, this might not be for you. But for those curious about anatomy, criminology, or the medical field, it's a fascinating, though haunting, place to explore. Just keep in mind, the experience tends to stay with you long after you've left.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
และนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง