ชุมชนนักปฏิบัติ ผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน 
(CoP Certified Diabetes Educator : CDE)

ความเป็นมา
จากสถิติของสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปี พ.ศ. 2559-2562 มีอัตราผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 960.18 เป็น 1,125.90 ต่อแสนประชากร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง การรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่าความชุกของโรคเบาหวานในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ในปี 2557 เท่ากับร้อยละ 8.9 สูงกว่าความชุกในปี 2552 มีเพียงร้อยละ 6.9 American Diabetes Association (ADA) แนะนำว่าผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับความรู้ด้าน Survival skill และ Continuing education ในการดูแลตนเอง (Diabetes self-management Education ; DSME) เพื่อการควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะของสหสาขาวิชาชีพเพื่อทำให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างมีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ศูนย์เบาหวานศิริราช จึงได้จัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (Certified Diabetes Educator Program) ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 4 รุ่น จบหลักสูตรแล้ว 3 รุ่น เป็นบุคลากรภายในศิริราช มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 36 คน โดยได้กลับไปปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนและหมุนเวียนมาปฏิบัติงานที่ ศูนย์เบาหวานศิริราช เพื่อให้ความรู้ DSMES (Diabetes self- management education & support) ทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ มีการจัดประชุมทีมงาน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิคการให้ความรู้ ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ทบทวนระบบการทำงาน และพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้ความรู้เบาหวานอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานให้ดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ

วัตถุประสงค์
1. พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2. พัฒนาศักยภาพของทีมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน
3. ส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
4. สร้างเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพเพื่อดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างทั่วถึง

ตัวชี้วัดและเป้าหมายด้าน KM
1. จำนวนสาระความรู้ ≥ 4 เรื่อง/ปี
2. อัตราสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกครั้ง ≥80%
3. จำนวนการจัดกิจกรรม Cop ≥ 9 ครั้ง/ปี

ตัวชี้วัดที่ตอบวัตถุประสงค์
1. อัตราผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน (CDE)  มีความรู้และทักษะในการให้ DSMES ร้อยละ 85 ≥80%

ความรู้ที่สำคัญ
1. การพัฒนารูปแบบบันทึกการให้คำปรึกษาโดยผู้ให้ความรู้เบาหวาน
2. การติดตามการฉีดอินซุลินระบบ GOOGLE FORM
3. ขั้นตอนการส่งต่อผู้ป่วยให้หน่วยการพยาบาลต่อเนื่องในรายที่เป็นกรณีพิเศษ
4. การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง
5. การดูแลเบาหวานที่มีโรคจิตเวชร่วมด้วย
6. การเรียนรู้การใช้เครื่องมือตรวจเลือดและการทำ SMBG
7. กระบวนการทำกลุ่ม SELF HELP GROUP ในการดูแลผู้ป่วย GDM
8. การเรียนรู้ปัญหาทางคลินิคในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม ในการต่อยอดพัฒนากิจกรรมการพยาบาล นวัตรกรรม หรืองานวิจัยเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้ดีขึ้น

 

update : 09/10/2021

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.