โลจิกโมเดล สำนักงานภาควิชา
(Logic Model of Department)

ความเป็นมา
คณะฯ มีการนำเครื่องมือ Logic Model มาใช้ในการวิเคราะห์ ออกแบบกระบวนการ และบริหารหน่วยงาน รวมทั้งการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและกระบวนการทำงาน ยกระดับคุณภาพให้บรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทและสนับสนุนความสำเร็จของคณะฯ ในทิศทางเดียวกัน ผ่านกระบวนการสำคัญ ได้แก่
1. แสดงความสำเร็จของการดำเนินการผ่านตัวชี้วัดในระดับหน่วยงาน และส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัดระดับคณะฯ/หน่วยงาน
2. การติดตามผลการดำเนินงานตาม Logic Model โดยนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการปฏิบัติการคณะฯ และได้รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้บริหารจากระดับต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนากระบวนการทำงาน
3. ฝ่ายทรัพยากรบุคคลติดตามผลลัพธ์การดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน (KPI) /ตัวชี้วัดควบคุมกระบวนการ (PI) จากหน่วยงานภายในคณะฯ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้เห็นความสำเร็จตามตัวชี้วัดในภาพรวมทั้งคณะฯ
4. การถ่ายทอดตัวชี้วัดและประยุกต์ร่วมกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System : PMS)
5. การวิเคราะห์ Logic Model จะทำให้ทราบว่าหน่วยงานมีจำนวนบุคลากรเพียงพอและมีขีดความสามารถเพียงพอหรือไม่ ที่จะทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ ตามเป้าหมายของหน่วยงานและคณะฯ

จากการดำเนินงาน Logic Model ของสำนักงานภาควิชาที่ผ่านมา พบว่ามีปัญหาหลัก ๆ คือ
1. ผู้ปฏิบัติงาน ไม่เข้าใจแนวคิดการทำ Logic Model
2. สำนักงานภาควิชา ไม่แน่ใจว่ามีตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานที่ทุกภาควิชาต้องมีหรือไม่
3. สำนักงานภาควิชา ยังไม่มีเครื่องมือในการจัดเก็บผลลัพธ์ตัวชี้วัด
4. ตัวชี้วัดของสำนักงานขาดความเชื่อมโยงไปถึงตัวชี้วัดของคณะฯ/หน่วยเหนือที่ดีพอ

ดังนั้น จึงจัดกิจกรรมหรือเวทีสำหรับให้ เลขานุการภาควิชาและเจ้าหน้าที่ในสำนักงานภาควิชาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการทำ Logic Model และตัวอย่างการดำเนินการที่ดีจากภาควิชาอื่น ๆ จะส่งผลให้ภาควิชาต่าง ๆ มี Logic Model ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มากยิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวคิดการจัดทำ Logic Model โดยผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. เพื่อให้เกิดแนวทาง ขั้นตอนปฏิบัติในการทำ Logic Model ของสำนักงานภาควิชา และถ่ายทอดลงสู่ผู้ปฏิบัติงาน
3. เพื่อให้หน่วยงานมีการนำ Logic Model ไปใช้วางแผนเชิงกลยุทธ์/วางแผนการดำเนินงาน

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ตัวชี้วัดด้าน KM
1. จำนวนสาระความรู้ 2 เรื่อง/ปี
2. จำนวนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม CoP (ในรอบปีงบประมาณ) ≥ 6 ครั้ง/ปี
3. อัตราของสมาชิกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ≥ 80% (เฉลี่ยรวมจากทุกครั้ง)

ตัวชี้วัดที่ตอบวัตถุประสงค์
4. จำนวนภาควิชาที่มี Logic Model ที่สมบูรณ์ (มีตัวชี้วัดครบทั้ง 5 มิติ, หัวหน้าภาควิชาอนุมัติ) ≥ 70%
5. อัตราการนำไปประยุกต์ใช้หลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ≥ 80%

ตัวชี้วัดหลักสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ /ตัวชี้วัดหน่วยงานหรือคณะฯ
6. จำนวนสำนักงานภาควิชาที่มีตัวชี้วัดสำเร็จตามเป้าหมายมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ≥ 80%
7. อัตราการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของสำนักงานภาควิชาทั้งหมด ≥ 80%

ความรู้ที่สำคัญ
1. วิธีการและเทคนิคการจัดทำ Logic Model
2. ตัวชี้วัดตามยุทธ์ศาสตร์ของคณะ และ/หรือตัวชี้วัดของภาควิชา
3. การใช้ MS. Excel ในการจัดทำ Logic Model
4. การจัดเก็บ วิเคราะห์ข้อข้อมูลสารสนเทศ และการพัฒนางาน

update : 15/09/2021
ผู้ประสานงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล : นายจารุเดช โตจำศิลป์  (4 1833)
ผู้ประสานงาน งานจัดการความรู้ : นายเอกราช จันทรประดิษฐ์ (9 9009 ต่อ 503)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.