ผลงานวิจัย เรื่อง ผลของการเปลี่ยนอัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือดต่อความเพียงพอของการฟอกเลือดในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่ใช้ตัวกรองซ้ำในโรงพยาบาลศิริราช (The effect of changes of dialysate flow on delivered Kt/V of reused dialyzer on hemodialysis patients in Siriraj hospital)
ชื่อสมาชิก : วิภารัตน์ ศรีสุวรรณ์, พย.ม., ทวี ชาญชัยรุจิรา, พ.บ., ศรันยา เจริญศรี, พย.บ., กนิษฐา จันทคนา, พย.บ. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช, ภาควิชาอายุรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ, ประเทศไทย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของความเพียงพอของการฟอกเลือดที่อัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือด 800 และ 500 มิลลิลิตร/นาที ในตัวกรองเลือดใหม่และนำกลับมาใช้ซ้ำในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การวัดค่าความเพียงพอของการฟอกเลือดใช้ค่า delivered Kt/V คำนวณจากสูตรของ Daugirdas โดยใช้ค่า BUN ที่เก็บก่อนและหลังการฟอกเลือด และจำนวนครั้งของตัวกรองเลือดที่นำกลับมาใช้ซ้ำที่ยังคงได้ค่าความเพียงพอของการฟอกเลือด(Kt/V) มากกว่า 1.2 ที่อัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือด 800 และ 500 มิลลิลิตร/นาที
วิธีการดำเนินโครงการ : Randomized-controlled crossover ในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ฟอกเลือดไม่น้อยกว่า 2 เดือน นำตัวกรองเลือดกลับมาใช้ซ้ำ อัตราการไหลของเลือด 300-400 มล./นาที มีค่า Kt/V คงที่ (± 5%) ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 เดือน ที่ฟอกเลือดในโรงพยาบาลศิริราชและให้ความยินยอม ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการเก็บตัวอย่างเลือดจำนวน 3 มิลลิลิตรต่อครั้ง ส่งตรวจหาค่า Prothrombin time (PT), Activated Partial Thromboplastin Time (APTT) ที่ 0, 3, 60, 180 และ 240 นาที เพื่อปรับสารกันเลือดแข็ง (anticoagulant) ให้ค่า PT ระหว่างการฟอกเลือด 1.8 เท่า และสิ้นสุดการฟอกเลือดอย่างน้อย 1.4 เท่า เพื่อนำตัวกรองมาใช้ซ้ำโดยไม่เกิดการอุดตัน ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการสุ่มโดยใช้โปรแกรม www.randomization.com จำนวน 47 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 21 คน ผู้ป่วยกลุ่มA เข้ารับการฟอกเลือดด้วยอัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือด 800 มิลลิลิตร/นาที 15 ครั้งและเปลี่ยนเป็น การฟอกเลือดด้วยอัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือด 500 มิลลิลิตร/นาที 15 ครั้ง ผู้ป่วยกลุ่ม B เข้ารับการฟอกเลือดด้วยอัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือด 500 มิลลิลิตร/นาที 15 ครั้งและเปลี่ยนเป็น การฟอกเลือดด้วยอัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือด 800 มิลลิลิตร/นาที 15 ครั้ง เก็บตัวอย่างเลือดหาค่า BUN ก่อน และหลังการฟอกเลือดจำนวน 3 มิลลิลิตร โดยใช้ slow flow technique ครั้งที่ 1, 4, 7, 10, 13, และ 15 จำนวน 12 ครั้ง ในระยะเวลา 10 สัปดาห์เปรียบเทียบความเพียงพอของการฟอกเลือด โดยนำมาวิเคราะห์ด้วย repeated measure ANOVA ด้วยใช้ โปรแกรม NCSS สำหรับ Non-inferiority โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ระดับสำคัญ เท่ากับ 0.05
Keywords: Dialysate flow rate; Adequecy; delivered Kt/V of reused dialyzer; Kt/V online of reused dialyzer; equilibrated Kt/V of reused dialyzer
ขอขอบคุณ: Volume 74, No.3: 2022 Siriraj Medical Journal
เว็บไซต์: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sirirajmedj/index
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ (ภาษาไทย) ผลของการเปลี่ยนอัตราการไหลของน้ำยาฟอกเลือดต่อความเพียงพอของการฟอกเลือดในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่ใช้ตัวกรองซ้ำในโรงพยาบาลศิริราช (34 downloads )
ดี