
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง เป็นโครงการที่รัฐบาลทำเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนสามารถรับบริการการรักษา โดยภาครัฐจะให้ประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาล และรัฐจัดสรรงบประมาณลงในโรงพยาบาลตามจำนวนคน และแจกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้บริการ เรียกกันว่า บัตรทอง (ปัจจุบันใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรทอง)
ดาวน์โหลดบทความ เอ๊ะ… สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คืออะไรนะ
ผู้มีสิทธิในรักษา
- มีสัญชาติไทย
- มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- ไม่มีสวัสดิการรักษาอื่น ๆ ของรัฐ
- ไม่มีสิทธิประกันสังคม
ขั้นตอนการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- นำบัตรประชาชน ติดต่อกับโรงพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิการรักษา
- กรณีมีความจำเป็นต้องไปรับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลอื่นให้ ดำเนินการขอหนังสือส่งตัวจาก โรงพยาบาลต้นสังกัด
- กรณีมีความประสงค์จะไปรับบริการยังสถานพยาบาลอื่นโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ ไม่สามารถใช้สิทธิได้ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
การใช้สิทธิกรณีอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิได้โดยเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาทันที ทั้งนี้ใช้สิทธิได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยการใช้สิทธิดังกล่าว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์เป็นผู้พิจารณา
ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการ ที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง และการหายใจ ต้องได้รับการรักษาและติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้รวดเร็ว
ช่องทางการตรวจสอบสิทธิ
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [สปสช] โทร. สายด่วน 1330
- งานสิทธิประกันสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 1
เคาน์เตอร์ 8-11 บริการตรวจสอบสิทธิ 24 ชั่วโมง
โทร. 0-2419-7234
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง เป็นโครงการที่รัฐบาลทำเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนสามารถรับบริการการรักษา โดยภาครัฐจะให้ประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาล และรัฐจัดสรรงบประมาณลงในโรงพยาบาลตามจำนวนคน และแจกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้บริการ เรียกกันว่า บัตรทอง (ปัจจุบันใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรทอง)
ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเองผ่านทาง
- เว็บไซต์ www.nhso.go.th
- Line : @nhso
- แอปพลเคชั่น : สปสช.
ขั้นตอนการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลศิริราช ต้องมีเอกสารดังนี้
- หนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัด (ฉบับจริง)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
- กรณี เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีใช้สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ปกครอง (ฉบับจริง)
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : คู่มือการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
นายจิรวัฒน์ อุ่นใจ โทร. 0 2419 9936
CoP กระบวนการพัฒนางานบริการและระบบประกันสุขภาพ
งานสิทธิประกันสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล