การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูก
(Developing Health Service Systems for Woman with Ectopic Pregnancy)
ความเป็นมา
การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะ shock จนเกิดอันตรายต่อชีวิตของสตรีตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก และเกิดความเสี่ยงต่อครรภ์ไม่ปกติในครรภ์ต่อไป ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากความล่าช้าของการวินิจฉัยและการรักษา และการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ ระบบการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูก อันประกอบไปด้วย แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติซึ่งมีองค์ประกอบ คือ 1) การดูแลในระยะวินิจฉัย/ก่อนรักษาภาวะครรภ์นอกมดลูก ได้แก่ การคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ การเฝ้าระวังอาการตกเลือดในช่องท้องและการจัดการเมื่อมีการตกเลือด
2) การดูแลในระยะหลังรักษาภาวะครรภ์นอกมดลูก ได้แก่ การเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนในระยะหลังการรักษาและการจัดการอาการ
3) การดูแลในระยะหลังจำหน่าย ได้แก่ การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองภายหลังกลับบ้านให้ผู้ป่วย
แนวปฏิบัติในนการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกจัดเป็นระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากภาวะ shock ในระยะก่อนรักษา ลดความเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อนในระยะหลังการรักษา และส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังจำหน่าย ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพของสตรีและสร้างความพึงพอใจต่อระบบบริการสุขภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการดูแลผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูก
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ตัวชี้วัดด้าน KM
1. จำนวนสาระความรู้ 2 เรื่อง/ปี
2. อัตราผู้เข้าร่วมกิจกรรม CoP 80%
ตัวชี้วัดที่ตอบวัตถุประสงค์
1. อัตราผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูกได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูก 100%
2. อุบัติการณ์การเกิดภาวะ Shock จากการไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูก 0 ราย
3. อัตราผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกพึงพอใจต่อการดูแลตามแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูก >80%
ตัวชี้วัดหลักสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ /ตัวชี้วัดหน่วยงานหรือคณะฯ
-ไม่ระบุ-
ความรู้ที่สำคัญ
1. ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์นอกมดลูก
2. ความรู้เกี่ยวกับระบบการบริการผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูก
CoP การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูก พัฒนามาจาก CoP การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูก (Developing Practice Guideline for Ectopic Pregnancy) ซึ่งความเป็นมาในการก่อตั้งเดิม คือ การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะฉุกเฉิน และเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้สตรีตั้งครรภ์เสียชีวิตที่พบบ่อยของในไตรมาศแรก ส่วนใหญ่พบว่าปัญหาเกิดจากการวินิจฉัยและการรักษาที่ล่าช้า นอกจากนี้ยังพบว่ายังไม่มีระบบการดูแล ตลอดจนระบบการส่งต่อข้อมูล ที่ชัดเจน ดังนั้นการพัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์นอกมดลูกให้มีการเฝ้าระวัง ระบบการดูแลและการส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะสามารถป้องกันปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อผลของการรักษา ทั้งต่ออัตราการตาย ภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา และการพยากรณ์โรคในระยะยาว
update : 2/04/2024
ผู้ประสานงาน ฝ่ายการพยาบาล : คุณมาลี งามประเสริฐ (9 4979, 9 7366)
ผู้ประสานงาน งานจัดการความรู้ : คุณวิจิตรา นุชอยู่ (9 9009 ต่อ 505)
เรียนปรึกษาค่ะ
พอจะมีแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่ตอบตัวชี้วัดการเฝ้าระวังภาวะช็อกไหมคะ
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
เบื้องต้นอยู่ระหว่างดำเนินการทำแนวทางปฏิบัติค่ะ โดยสามารถสอบข้อมูล และอาการเฝ้าระวังต่าง ๆ ได้ที่ ฝ่ายการพยาบาล โทร. 0 2419 4979 (คุณมาลี งามประเสริฐ)