จากงานวิจัยเรื่อง Incidence of Inadequate Pain Treatment among Ventilated, Critically Ill Surgical Patients in a Thai Population โดยมี นายณภัทร ธิคม หอผู้ป่วยไอซียู สลาดสำอางค์ สังกัดงานการพยาบาลศัลยศาสตร์ และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ร่วมดำเนินการ นั้น
Critical-Care Pain Observation Tool (CPOT) เป็นเครื่องมือประเมินความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยหนักที่การสื่อสารถูกจำกัดไม่สามารถบอกความปวดได้ด้วยตนเอง
CPOT เป็นการสังเกตพฤติกรรม 4 หมวด ได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหวร่างกาย การเกร็งของกล้ามเนื้อ และการหายใจสอดคล้องกับเครื่องช่วยหายใจ แต่ละหมวดมีคะแนน 0-2 คะแนน รวมคะแนนต่ำสุดคือ 0 และคะแนนสูงสุดคือ 8 คะแนน โดยควรเริ่มจัดการความปวดเมื่อคะแนนมากกว่า 2 คะแนน
กลุ่มเป้าหมายที่สามารถใช้ CPOT ในการประเมินได้
- ผู้ป่วยหนัก
- ผู้ป่วยที่สื่อสารได้จำกัดไม่สามารถบอกความปวดได้ด้วยตนเอง เช่น ผู้ป่วยวิกฤติ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่ได้รับยาแล้วมีผลต่อความรู้สึกตัว ผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางสมองแล้วส่งผลให้การสื่อสารบกพร่อง ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เป็นต้น
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Critical-Care Pain Observation Tool (CPOT) (3218 downloads )