ส่งเสริมสุขภาพบุคลากรเพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด
(Prevent Preterm in healthcare personnel)

ความเป็นมา

การคลอดก่อนกำหนด หมายถึง การคลอดตั้งแต่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ จนถึงทารกคลอดออกมาก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์เต็ม ผลกระทบจากการที่บุคลากรคลอดก่อนกำหนด คือ ต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน  นอกจากนี้บุตรที่คลอดก่อนกำหนด จะมีน้ำหนักตัวน้อย  เจ็บป่วยง่าย  มารดาต้องดูแลบุตรอย่างใกล้ชิดและมีความวิตกกังวล ทำให้ทำงานอย่างไม่มีความสุข ประกอบกับปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ต้องดูแลบุตรเอง อาจมีผลให้ตัดสินใจลาออกจากงาน  ทำให้หน่วยงานขาดอัตรากำลัง ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาล
ศิริราช มีบุคลากรหญิงทุกระดับที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ ≤ 45 ปีจำนวน 4,556 คน (ข้อมูล 1 ตุลาคม 2561) และลักษณะงานเป็นเวรหมุนเวียนในรอบ 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ สารเคมี สิ่งแวดล้อม และจิตสังคม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช  เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลบุคลากรกลุ่มนี้ จึงได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรเพื่อป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดและจัดดั้ง CoP:  Prevent Preterm in healthcare personnel      เพื่อให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์  กำลังตั้งครรภ์ และที่วางแผนจะมีบุตร เพื่อให้มีการนำความรู้และประสบการณ์มาแบ่งปันซึ่งกันและกัน และนำสาระความรู้เหล่านี้มารวบรวม จัดเก็บ ต่อยอด ทำให้บุคลากรทุกคนเข้าถึงความรู้ได้ง่าย นอกจากนี้ทีมผู้บริหาร  ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช จะนำข้อมูลมาวางแผนเชิงระบบในการดูแลบุคลากรกลุ่มนิ้ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติการณ์บุคลากรคลอดก่อนกำหนด

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ยังประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ประเทศชาติ และประชาคมโลกต่อไป

ตัวชี้วัดหน่วยงานหรือคณะฯ
1. อัตราบุคลากรคลอดก่อนกำหนด ≤ 10%

ตัวชี้วัดด้านการจัดการความรู้
1. จำนวนสาระความรู้ 5 เรื่อง/ปี
2. อัตราสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ≥80%

ตัวชี้วัดที่ตอบวัตถุประสงค์
1. อัตราบุคลากรตั้งครรภ์ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 100%
2. อัตราบุคลากรตั้งครรภ์ฝากครรภ์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ 100%
3. อัตราบุคลากรตั้งครรภ์รมารับการตรวจครรภ์ครบตามแพทย์นัด 100%
4. อัตราบุคลากรที่ตั้งครรภ์ได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 100%
5. อัตราบุคลากรตั้งครรภ์สังเกตอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและมาพบแพทย์โดยปากมดลูกเปิดไม่เกิน 3 เซนติเมตร 80%
6. อัตราบุคลากรคลอดก่อนกำหนด ≤ 10%
7. อัตราบุคลากรคลอดบุตรน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ≤ 10%

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.