ชุมชนนักปฏิบัติ ภาควิชาตจวิทยา

ความเป็นมา
ภาควิชาตจวิทยา มีตจแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง มีบุคลากรด้านต่างๆ ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่สำนักงานและการศึกษา นอกจากนี้การให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขยังมีบุคลากรทางการแพทย์อื่นที่มีส่วนร่วมในการให้บริการ ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่เวชระเบียน เป็นต้น การที่ภาควิชาตจวิทยาจะพัฒนาหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ว่า “เป็นหนึ่งในผู้ชี้นำทางตจวิทยาของประเทศไทย” บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับควรมีพื้นความรู้โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อยทางผิวหนัง สามารถให้ข้อมูลและสื่อสารได้  พร้อมกันกับมีการพัฒนาและจัดการเพื่อยกระดับองค์ความรู้ขององค์กร แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ร่วมกัน ชุมชนนักปฏิบัติภาควิชาตจวิทยาเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนในภาควิชาฯ และหน่วยตรวจโรคผิวหนัง มีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนางานและหน่วยงานให้ดีขึ้น โดยมีทีมทำงานในการรวบรวมจัดการองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อให้บุคลากรเข้าถึงได้ง่าย มีการทำกิจกรรมกลุ่ม การประชุม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ Coaching, Training  เป็นต้น ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ยังมีกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง คือ การร่วมกันทำงานวิจัย และ R2R เพื่อให้ภาควิชาฯ บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการตามปรัชญาที่กำหนดไว้ว่า “ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การนำวิทยาการทางการแพทย์ด้านผิวหนังไปใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทุกระดับ”

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกรูปแบบทั้งด้านโรคผิวหนัง และความรู้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีต่างๆ ของอาจารย์แพทย์ และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนของภาควิชาฯ เพื่อให้พัฒนาทักษะความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และพัฒนาหน่วยงานร่วมกันเป็นทีม
2. เพื่อจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ของภาควิชาฯ
3. เพื่อจัดการองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นให้เข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
1. จำนวนสาระความรู้ทุกรูปแบบของภาควิชาฯ ที่ถ่ายทอดและนำออกเผยแพร่ เป้าหมาย ≥ 2 เรื่อง/ปี
2. การเข้าชมและ Download สาระความรู้ ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ >50 ครั้ง/ปี

update : 10/07/2024
ผู้ประสานงาน ภาควิชาตจวิทยา : นางอารยา  กิจเลิศผล (9 4333)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.