เวชศาสตร์ฟื้นฟูดูแลการกลืน
(Rehabilitation Swallowing Team)

ความเป็นมา

ประสบการณ์และความรู้ในตัวบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ในหน่วยงาน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการพัฒนาคนและพัฒนางาน การรวบรวมความรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยครอบคุลมปัญหา และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ปัญหาด้านการกลืนลำบากเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยที่มีโรคทางสมอง และผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง ซึ่งแต่ละรายมีอาการที่แตกต่างกัน ทำให้การดูแลรักษาแตกต่างกันไปด้วย และต้องอาศัยการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

จากเดิมที่นักกิจกรรมบำบัดเป็นผู้ดูแลการกลืนลำบากเพียงหน่วยเดียว ทำให้การดูแลไม่ครอบคลุม เมื่อเกิดปัญหาหรือต้องการขอคำปรึกษา จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้จากบุคลากรในหน่วยงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่าแต่ละบุคคลยังมีความรู้และประสบการณ์อีกจำนวนมากที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในทีม จึงเกิดการรวมตัวของชุมชนนักปฏิบัติขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการถ่ายโอน แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ของบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ให้การดูแลมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมปัญหา และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
KPI process

KPI outcome

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.