บทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 24Growth Mindset for Better Healthcare System
(ระบบบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่กว้างไกล)
เรื่อง “ศิลปะผู้นำ Data Culture to Data Strategy for Hospital Leaders
วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ณ ห้องสัมมนา Sapphire 202 ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี

วิทยากร
ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม
(อนุกรรมการด้านพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล สรพ.)

ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม กล่าวถึง Big Data ว่าเป็นชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีจำนวนมากเกินกว่าจะทำงานบน computer ได้ โดยจากที่ราคาของระบบเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์มือถือ เซนเซอร์ตรวจจับพฤติกรรมการใช้ Social Network เป็นต้น มีแนวโน้มลดลง ตรงข้ามกับความสามารถที่ได้ข้อมูลเร็วขึ้น ถูกต้องและแม่นยำ จึงทำให้ภายใน 1 นาทีมีข้อมูลเกิดขึ้นจำนวนมาก ก่อให้เกิดที่มาของ Big Data

การประยุกต์ใช้ Big Data ต้องพิจารณาถึงข้อมูลที่ได้ว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อะไร และเมื่อนำข้อมูลมาทำกราฟ ต้องมีการอธิบาย และแปลความโดยยึดหลักสำคัญว่าต้องการแปลความนั้นให้กับใคร และจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนฟังหรือคนรับสารอย่างไร จะต้องทำให้ทราบได้ว่าจากข้อมูลที่มีจะให้ทำอย่างไร หรือเกิดผลเป็นอย่างไร

การเปิดเผย และแบ่งปันข้อมูล เพื่อที่จะนำไปใช้ต่อ ควรคำนึงถึงผู้ใช้ข้อมูล เช่น แสดงข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารพิจารณา แสดงข้อมูลให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ไข แสดงข้อมูลเพื่อเข้าระบบและวิเคราะห์ผล หรือแสดงเพื่อนำไปทำ visualization ข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่แบ่งปันควร Availability สะดวกและนำไปปรับแก้ได้ Reuse สามารถให้ Machine Readable และใช้ซ้ำได้ Universal Participation ทุกคนสามารถใช้ข้อมูลได้ ไม่จำกัดบุคคล หรือจุดประสงค์การใช้งาน และ Interoperability มีมาตรฐานคงเส้นคงวา ทำงานร่วมกันได้

ตัวอย่าง Data ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูล Biometric (Wearable) Data ถือเป็นจุดเปลี่ยนของ Health Care อย่างมาก เพราะมีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ตลอดเวลา ส่งผลทำให้วิเคราะห์ข้อมูลได้มากขึ้น สามารถเห็นถึงพฤติกรรมของบุคคลได้ชัดเจนมากกว่าที่มาตรวจหรือพบแพทย์ เช่น การตรวจเลือดในวันที่มีนัดหมายอาจพบว่าค่าเลือดดี แต่ถ้านำผลข้อมูลที่จัดเก็บมาวิเคราะห์ อาจพบว่าในช่วงเย็นค่าเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งต้องพิจารณาถึงพฤติกรรมเพิ่มเติมว่าในช่วงเวลานั้นมีการกระทำอะไรที่อาจส่งผลต่อค่าเลือด หรือจากการจัดเก็บข้อมูลความดันพบว่าช่วงเช้ามีค่าความดันสูงกว่าปกติ แต่เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมพบว่ามีการออกกำลังกายตอนเช้า หรืออาจมีการวิเคราะห์สาเหตุการหายใจติดขัด จากรูปแบบการนอนซึ่งมีการเก็บข้อมูลไว้ได้ เป็นต้น

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> ศิลปะผู้นำ Data Culture to Data Strategy for Hospital Leaders

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาวชลิตา มิ่งขวัญ
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านบทเรียน HA National Forum อื่น ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.