พว. นุชสรา เพชรบุตร ผู้ตรวจการงานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ กล่าวถึงหอผู้ป่วย 72/4 ประสาทศัลยศาสตร์หญิงว่า ให้การดูแลผู้ป่วยหญิงและเด็กด้วยโรคทางระบบประสาทสมองและไขสันหลัง ก่อนและหลังการผ่าตัด โดยปัญหาที่พบของหน่วยงานคือ ตั้งแต่ปี 2560 มีบุคลากรลาออกเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องรับบุคลากรใหม่เข้ามาทำงาน จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งคือ ทำอย่างไรให้บุคลากรที่มาใหม่และอายุงานน้อย สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้เท่ากับบุคลากรที่มีประสบการณ์มากในหน่วยงาน

เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย หน่วยงานจึงมีการนำกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรใหม่ เนื่องจากบุคลากรมีประสบการณ์ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดปัญหาในการดูแลผู้ป่วย จึงนำ Siriraj Link – Share – Learn มาเป็นแนวคิดสำคัญในการทำงาน เพื่อสร้างกระบวนการที่เป็นระบบในการนำความรู้หรือประสบการณ์จากการทำงานที่สำคัญมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างกิจกรรมเช่น Share ความรู้โดยการทำ Morning brief เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ และเรื่องที่ควรรู้เช่น การดูแลรักษาผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ นอกจากนี้ในหอผู้ป่วยยังมีการทำ Content conference เรื่องโรคที่พบบ่อยในหอผู้ป่วยและการดูแล และมีการทำ CoP เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ Link โดยส่งบุคลากรไปศึกษาการทำงานจาก Best practice และนำความรู้ที่ได้มา Share ให้กับบุคลากรในหน่วยงานนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน และ Learn โดยการติดตามผลลัพธ์เพื่อทบทวนและพัฒนาการทำงานเสมอ

     พว. นุชสรา ยกตัวอย่างการนำ KM มาใช้ในหน่วยงานและเห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจนคือ เรื่อง การดักจับความเสี่ยงเชิงรุกในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกสูง (Increase Intracranial Pressure หรือ IICP) ซึ่งคณะฯ ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงเชิงรุกที่เรียกว่า Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (MEWS) โดยใช้กระบวนการ KM เริ่มจาก Learn หรือทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกสูงทำให้เกิดความพิการ รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตสูง หน่วยงานจึงนำเครื่องมือที่เรียกว่า MEWS มาใช้ ในระยะแรก Link ด้วยการรวมกลุ่มโดยงานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ และพยาบาลในหอผู้ป่วย 72/4 ประสาทศัลยศาสตร์หญิง หอผู้ป่วย 72/4 ประสาทศัลยศาสตร์ชาย และ ICU ประสาทศัลยศาสตร์ เพื่อร่วมกันพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย IICP และ Link กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเดียวกันเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในการคัดกรองผู้ป่วย เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทสมองอย่างใกล้ชิด และให้การรักษาพยาบาลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที เพื่อช่วยลดความรุนแรงจากภาวะความดันในกะโหลกศีรษะที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการ Share ความรู้และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกับบุคลากรให้มีความรู้เรื่องความดันในกะโหลกสูงอย่างเท่าเทียมกัน และสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ผู้ป่วยมีอัตราความพิการลดลง อัตราการเสียชีวิตลดลง จาก 19.5% โดยปัจจุบัน ปี 2561 ลดเหลือ 3.19%

จากการใช้ KM ในการบริหารจัดการหน่วยงานพบว่า KM มีประโยชน์ต่อบุคลากรและผู้ป่วย บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงาน และสามารถนำไปขยายผลทุกหอผู้ป่วยของฝ่ายการพยาบาล ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยดีขึ้น อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น และผู้ป่วยพึงพอใจในการดูแลที่มีประสิทธิภาพ

     สุดท้ายนี้ พว. นุชสรา ฝากไว้ว่า “ศิริราชเป็นสถาบันการแพทย์ของแผ่นดิน มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่ดีและเก่ง อยากให้บุคลากรทุกคนก้าวไปพร้อมกัน พัฒนางานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่าเมื่อเข้ามาทำการรักษาในโรงพยาบาลศิริราชจะได้รับความปลอดภัย และสามารถกลับบ้านไปด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

บทเรียนจากการสัมภาษณ์
พว. นุชสรา เพชรบุตร
ผู้ตรวจการงานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

ดาวน์โหลดบทความ >> MEWS of IICP ผลลัพธ์จาก KM (404 downloads )
ดาวน์โหลดวิดีทัศน์ >> สัมภาษณ์ พว. นุชสรา เพชรบุตร : MEWS of IICP ผลลัพธ์จาก KM (84 downloads )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.