บทเรียนการประชุมวิชาการคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 6/2565
เรื่อง “KM Tools… KM Cool จัดการความรู้ให้สนุก และสุขกับงาน”
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 – 15.00 น.
ถ่ายทอดสดด้วยสัญญาณภาพ/เสียงผ่านระบบเน็ตเวิร์ค (SiBN) และ Zoom Webinar
ณ ห้องประชุม 202 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 2
วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทีม KM สำนักงานภาควิชาศัลยศาสตร์
รศ. น.ต. นพ.คามิน ชินศักดิ์ชัย ภาควิชาศัลยศาสตร์
คุณชัชฎา บุญญศาสตร์พันธุ์ เลขานุการภาควิชาศัลยศาสตร์
ทีม Deep Vein Thrombosis (DVT) Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) by MEWS in elective surgery adult hospitalized patient with DVT of lower extremity Guideline
รศ. ดร. นพ.ณัฐวุฒิ เสริมสาธนสวัสดิ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
พว.ทัศนีย์ อินทรสมใจ งานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
พว.ปภัสสรา มุกดาประวัติ งานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
ผู้ดำเนินการอภิปราย
พว.นันทพร พ่วงแก้ว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ/หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
พว.นันทพร พ่วงแก้ว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และหัวหน้างานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ โดยปัจจุบันมีความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มากมาย ถ้ามีการจัดการความรู้จะสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ซึ่งการจัดการความรู้มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ คน เป็นปัจจัยสำคัญ แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญ มีทักษะที่สั่งสมมา ทำอย่างไรจะดึงความรู้นี้ออกมาได้ กระบวนการ เป็นการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ทันที ทันเวลา โดยการจัดการความรู้ที่ดี เริ่มจากปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการ นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี โดย KM Process จะเป็นการสร้างความรู้ การถ่ายทอด และนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงกระบวนการต่อยอด ขยายผลความรู้
ความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และ ความรู้ฝังลึกในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ซึ่งแต่ละคนจะมีไม่เท่ากัน สั่งสมเป็นประสบการณ์ ทักษะ ทำอย่างไรที่จะดึงความรู้นี้ออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้งได้
KM cool ในแบบของผู้ดำเนินรายการ คือ การทำ KM ง่าย ๆ สบาย ๆ หลักสำคัญคือ การเปิดใจในทีม ทำงานร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร และแบ่งปันกันเป็นทีม เกื้อกูล ร่วมมือร่วมใจเรียนรู้ สุดท้ายคือคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งตนเองและองค์กร เป็นองค์กรที่ยกระดับคุณภาพด้วยการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี บรรลุพันธกิจของคณะฯ การจัดการความรู้ ทำให้คนเคารพกัน เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ โดยคณะฯ กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมฐานความยั่งยืน และเกิดการเรียนรู้
กลยุทธ์การจัดการความรู้ Link-Share-Learn เริ่มต้นด้วยการ Learn วิเคราะห์ปัญหา ศึกษาปัจจัยความเร็จ และ Link บุคคล ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการ Share แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมุนรอบเป็นวงจรการพัฒนาคุณภาพ สิ่งสำคัญ คือ ผู้นำ การเรียนรู้ ยกย่องให้เกียรติ ทำให้ความรู้อยู่ในองค์กรต่อไป ซึ่งวันนี้มีตัวอย่างทีมที่ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่ ทีมภาควิชาศัลยศาสตร์ และทีม Deep Vein Thrombosis (DVT)
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> KM Tools... KM Cool จัดการความรู้ให้สนุก และสุขกับงาน (267 downloads )
สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมวิชาการได้ที่
เว็บไซต์ของงานพัฒนาคุณภาพ ในส่วนของ เมนู Download เอกสาร
www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd