การให้ความรู้ทางด้านทันตกรรม
Dentist

ความเป็นมา
การให้ความรู้ทางด้านทันตกรรม หรือ Dentist เป็นกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ที่พัฒนามาจาก CoP กระบวนการดูแลความต่อเนื่องในการรักษาทางยาในงานทันตกรรม (Medication Reconciliation in Dental Department) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ในปัจจุบันให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ในกรอบเวลาที่กำหนด ทั้งชื่อยา ขนาดรับประทาน ความถี่และวิถีใช้ยานั้น ๆ รวมถึงยาที่ผู้ป่วยซื้อมารับประทานเอง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร วิตามินต่างๆ โดยใช้อย่างต่อเนื่องหรือใช้เป็นบางครั้งคราวเพื่อบำบัดอาการก็ตาม เพื่อใช้รายการยานี้เป็นข้อมูลให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เคยใช้อยู่อย่างต่อเนื่องในทุกจุดที่ผู้ป่วยไปรับการบริการในสถานพยาบาล แล้วนำรายการยาต่อเนื่องนี้เปรียบเทียบกับคำสั่งการใช้ยาโดยแพทย์เพื่อค้นหาว่ามีความแตกต่างของรายการยาหรือไม่ หากพบว่ามีความแตกต่างของรายการต้องมีการบันทึกและสื่อสารให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องทราบ โรงพยาบาลศิริราชจึงมีการกำหนดความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยเฉพาะด้านการบริหารยาเป็นประเด็นสำคัญในจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพประจำปี โดยใช้ข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ซึ่งสอดคล้องกับ Patient Safety Goal ที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ประกาศใช้ ในปี 2556 การดำเนินการ Medication Reconciliation ในงานทันตกรรม มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความต่อเนื่องในการรักษาทางยาในงานทันตกรรม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม anti-platelet, anticoagulant และต้องมาเข้ารับการผ่าตัดหรือหัตถการ จึงเป็นที่มาของการประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ซึ่งได้จัดทำแบบฟอร์ม Medication Reconciliationสำหรับงานทันตกรรม และ Workflow ขึ้น โดยดำเนินการในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการทำหัตถการที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดออก และมีการใช้ยา anti-platelet, anticoagulantมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ในช่วงแรกของการดำเนินการพบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่น ระบบการจัดเก็บใบ Medication Reconciliation การคัดกรองผู้ป่วย new case ของทันตแพทย์ เป็นต้น โดยเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะมีการประชุมเพื่อทบทวนและหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นระยะ ๆ หลังจากดำเนินการได้ระยะหนึ่ง จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บใบ Medication Reconciliationและค้นหาได้ยากขึ้น จึงมีการประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันอีกครั้ง โดยเชิญโปรแกรมเมอร์จากฝ่ายสารสนเทศร่วมประชุมเพื่อพัฒนาโปรแกรม UR- Ward สำหรับงานทันตกรรม ให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบันทึกข้อมูลใบ Medication Reconciliationในระบบ สืบค้นรายการยาของผู้ป่วยย้อนหลังได้ ใช้งานง่าย และสามารถเก็บข้อมูลตัวชี้วัดได้ ทำให้การรายงานผลสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น จึงเป็นที่มาในการก่อตั้ง CoP Medication Reconciliation in Dental Department เพื่อพัฒนาการดำเนินการความต่อเนื่องในการรักษาทางยาในงานทันตกรรม และเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วย โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการดูแลความต่อเนื่องในการรักษาทางยาในงานทันตกรรมโรงพยาบาลศิริราช โดยการรวบรวมและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยใช้ประจำและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วย และ ตัวชี้วัดและเป้าหมาย KPI process  คือ Medication Reconciliation in Target cases > 90% และ KPI outcome ได้แก่ อัตราผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Medication Reconciliation ปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง เป้าหมาย 100% และอัตราผู้ป่วยที่ได้รับการทำ Medication Reconciliation เกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกภายหลังการรักษาทางทันตกรรม < 5%

หลังจากที่ดำเนินการ CoP กระบวนการดูแลความต่อเนื่องในการรักษาทางยาในงานทันตกรรม (Medication Reconciliation in Dental Department)  จึงได้พัฒนาเพื่อการให้ความรู้ด้านทันตกรรมได้ครอบคลุมเนื้อหามากขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น CoP การให้ความรู้ทางด้านทันตกรรม (Dentist)

วัตถุประสงค์
1. ดูแล website งานทันตกรรม
2. ให้ความรู้ทางทันตกรรม แก่บุคลากรภายในและภายนอกโรงพยาบาลผ่านกลุ่ม KM โรงพยาบาลศิริราช และ website งานทันตกรรม
3. ให้บริการถามตอบข้อสงสัยทางทันตกรรม ผ่าน web board งานทันตกรรม
4. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน เช่น การทำคู่มือ

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ให้ความรู้ทางทันตกรรม 2 เรื่อง/ปี

แก้ไข : 29/03/2562

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.