การคิดเชิงระบบ (System Thinking) เป็นหนึ่งในวินัยสำคัญของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

การฝึกคิดเชิงระบบ ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองก่อน โดยทำความเข้าใจธรรมชาติของระบบ มองความสัมพันธ์ กระบวนการหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบ ฝึกคิดบนพื้นฐานของเหตุและผล คิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบ เช่น ในบริบทของการทำงาน ให้คิดว่างานที่ตนเองทำ จะส่งผลต่อระบบเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดในที่ทำงาน จึงต้องมีการค้นหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าทุกสิ่งสามารถพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ นอกจากนี้การฝึกทักษะการคิดเชิงระบบอาจใช้เครื่องมือคุณภาพและการจัดการความรู้ช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานหรือการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น การเขียนแผนภูมิความคิด (Mind map) การเขียนแผนภูมิก้างปลา (Fishbone diagram) วงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) การใช้คำถาม 5W1H การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Cause Analysis) เป็นต้น นอกจากการฝึกให้บุคลากรในองค์กรคิดเชิงระบบแล้ว องค์กรต้องสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน (Shared vision) สนับสนุนให้บุคลากรเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และเปิดอิสระในเรื่องการคิด โดยไม่ถูกตีกรอบ เพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ตอนที่ 2 (1082 downloads )

บทความคุณภาพ 7/2563
เรื่อง การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ตอนที่ 2
ที่มา : ศิริราชประชาสัมพันธ์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 432 เดือนกรกฎาคม 2563

อ่านบทความ การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ตอนที่ 1

2 thoughts on “การคิดเชิงระบบ (System Thinking) ตอนที่ 2

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.