ประเภทที่ 1 การจ้างเหมาดำเนินการ (Operational Outsourcing)

>> ผู้รับจ้างที่เป็นนิติบุคคลที่ไม่อยู่ในสังกัดของคณะฯ ต้องจัดหาทั้งคนและอุปกรณ์หรือคนอย่างเดียวเข้ามาปฏิบัติงาน โดยคณะฯ ไม่ต้องจัดสวัสดิการให้

ตัวอย่าง Outsource ที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง
• จ้างก่อสร้าง จ้างปรับปรุง/ซ่อมแซม/บำรุงรักษาอาคารสถานที่ครุภัณฑ์ที่ไม่ได้มีความซับซ้อน
• จ้างบริการทำความสะอาด
• จ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย
• จ้างพนักงานบริการปฏิบัติงานด้านซัก อบ รีด ห่อ พับ เซ็ต
• จ้างพนักงานปฏิบัติงานนำเครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ห่อผ้า เข้าเครื่องทำปราศจากเชื้อ
• จ้างผู้จัดงานเข้ามาจัดงานให้คณะฯ (Organizer)

ประเภทที่ 2 การจ้างเหมาผู้เชี่ยวชาญ (Professional Outsourcing)

>> ผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในงานที่คณะฯ ขาดความชำนาญหรือขาดความรู้เนื่องจากต้องให้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำพัฒนา หรือดำเนินการเพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน (Consultant) ผู้พัฒนาระบบ (Developer) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ (Specialist)

>> ผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับคณะฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในงานที่คณะฯ ไม่สามารถทำเองได้เนื่องจากต้องให้บุคคลที่สามเป็นผู้ตรวจรับรองการดำเนินงาน ได้แก่ ผู้ตรวจสอบเฉพาะด้าน (Inspector)

ตัวอย่าง Outsource ที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง
• ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน อาทิจ้างควบคุมการก่อสร้าง จ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบการทำงาน
• ผู้พัฒนาระบบ ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน IT เข้ามาทำงานในลักษณะการพัฒนา ดูแลบำรุง รักษาซอฟแวร์โปรแกรม ระบบเครือข่าย
• ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ อาทิการจ้างเขียนแบบก่อสร้าง การออกแบบ artwork การวิเคราะห์ทางการตลาด จ้างจัดอบรม
• ผู้ตรวจสอบเฉพาะด้าน อาทิการจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีจ้างบริการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์จ้างบริการตรวจสอบมาตรฐาน (ISO)
จ้างบำรุงรักษาเครื่องจักร/ครุภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน

ดาวน์โหลดเอกสาร  ประเภท Outsource (15 downloads )   

ที่มา : มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายจ้างเหมาบริการภายนอก ครั้งที่ 1/2566

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.