เรียนรู้ความสำเร็จ สกัดความผิดพลาดจาก “การถอดบทเรียน” ตอนที่ 1

       การถอดบทเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการสกัดความรู้ฝังลึก ที่มีคุณค่าจากแหล่งความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ให้เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยมีการทบทวนกระบวนการทำงาน กลั่นกรองด้วยกระบวนการคิด เน้นใจความสำคัญ และถ่ายทอดได้อย่างตรงประเด็น ทำให้ได้บทเรียนที่เป็นรูปธรรม เมื่อเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสามารถนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ พัฒนาตนเอง พัฒนางาน และต่อยอดได้ตามบริบท โดยการถอดบทเรียนอาจเป็นความรู้ระดับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กร สามารถถอดบทเรียนได้จากเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์/ความรู้ เช่น การประชุมวิชาการระดับองค์กร การประชุมย่อยภายในหน่วยงานการอบรม การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และจากกระบวนการทำงาน เป็นต้น

       ปัจจุบันการถอดบทเรียนมีหลายวิธี การเลือกวิธีการจึงควรคำนึงถึง “วัตถุประสงค์” ว่าต้องการรู้หรือสร้างความเข้าใจในเรื่องอะไรและ “ช่วงเวลาที่เหมาะสม” โดยอาจถอดบทเรียนตามช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน ได้แก่ ก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติงาน ตอนหน้ามาติดตามกันว่าวีธีการถอดบทเรียนมีอะไรบ้างและการถอดบทเรียนที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบอย่างไร

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> เรียนรู้ความสำเร็จ สกัดความผิดพลาดจาก “การถอดบทเรียน” ตอนที่ 1 (375 downloads )   

ที่มา : ศิริราชประชาสัมพันธ์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 425 ธันวาคม 2562

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.