บทเรียนการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2563
เรื่อง “ก้าวต่อไปของการจัดการคุณภาพศิริราช หลังวิกฤตโควิด”
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30-09.10 น.
การถ่ายทอดสดด้วยสัญญาณภาพ/เสียง ผ่านระบบ online networkวิทยากร ศ. พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
ศ. พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ กล่าวถึงประเด็นหลักในการบรรยาย ซึ่งเป็นทิศทางของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล การดำเนินการที่ผ่าน และแผนการดำเนินการในอนาคต
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นสถาบันทางการแพทย์ของแผ่นดิน เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะแก่มวลมนุษยชาติ โดยมี 3 พันธกิจหลัก ได้แก่ พันธกิจการศึกษา พันธกิจการวิจัย และพันธกิจบริการทางการแพทย์ เป็นผู้นำทางการแพทย์ เพื่อสร้างและชี้นำความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและวงการแพทย์ทั้งระดับประเทศและระดับโลก โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 โดยมีการจัดทำแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ และกำหนดการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้ในแผนกลยุทธ์ นำเกณฑ์ Thailand Quality Award (TQA) มาเป็นเกณฑ์ในการประเมินร่วมกับเครื่องมือคุณภาพอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2563 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเป็นองค์กรอัจฉริยะ เป็นเลิศ และยั่งยืน
โครงสร้างการพัฒนาคุณภาพ ภายใต้การดูแลของรองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วยทีมผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และหน่วยงานสนับสนุน 3 หน่วยงาน ทำงานร่วมกับหน่วยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) และฝ่ายการพยาบาล บูรณาการร่วมกับคณะกรรมการคร่อมสายงาน โดยมี knowledge facilitator ที่เป็นทั้ง catalyst, collaborator (integrator) และ coach มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพแบ่งเป็นระยะทุก 4 ปี โดยที่ผ่านมา คณะฯ ผ่านการประเมินมาตรฐานต่าง ๆ ในระดับสากล ทั้ง 3 พันธกิจหลัก เช่น ความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคซับซ้อน ได้การรับรอง specific disease certification จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) เป็นแห่งแรกของประเทศ โดยปัจจุบันคณะฯ มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมคุณภาพ รวมถึงการสร้างนวัตกรรม เน้นการบูรณาการ การร่วมมือทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เพื่อเป็นองค์กรอัจฉริยะและเป็นเลิศอย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพ มีการกำหนดทิศทาง การสื่อสาร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเพื่อพัฒนาระบบงาน รวมถึงการสร้างนวัตกรรม ผนวกกับมาตรฐานสิ่งที่ดีจากภายนอก และความเชี่ยวชาญภายในคณะฯ ทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับมีการใช้การวิจัย เพื่อพิสูจน์สิ่งที่ดำเนินการและนำไปขยายผล โดยมีการสนับสนุน กระตุ้น ทั้งระดับคณะฯ และหน่วยงาน ให้ครอบคลุมส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ใช้ความรู้ในการทำงาน เกิดการพัฒนาควบคู่กับการใช้ Siriraj Link-Share-Learn มีการรวมกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างเป็นสหสาชาวิชาชีพเพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ ที่เรียกว่า Siriraj CoP style โดยคณะฯ มีการบูรณาการการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้ อย่างเป็นระบบ โดยใช้ Siriraj culture เป็นสิ่งสำคัญ
VUCA world คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ วิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เรื่องสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบทั้งโลก เราต้องปรับตัวทั้งบุคลากรและองค์กร เพื่อรับสถานการณ์ ซึ่งมีผลกระทบหลายอย่างทั้งเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่องค์กรต้องตระหนักและรับมือ คือ ต้องปรับมุมมอง มีความรู้ความเข้าใจ ความชัดเจน ความคล่องตัว ว่องไว และเท่าทัน โดย….
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> ก้าวต่อไปของการจัดการคุณภาพศิริราช หลังวิกฤตโควิด (118 downloads )