ผลงานวิจัย เรื่อง ผลลัพธ์ทางคลินิกและค่าใช้จ่ายของการใช้กระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจและการถอดท่อทางเดินหายใจอย่างมีแบบแผนในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบไม่ฉุกเฉิน (Clinical outcomes and cost of ventilator weaning and endotracheal extubation guided by an established ventilator weaning protocol in patients undergoing elective cardiac surgery)

ชื่อสมาชิก :
ผู้วิจัยหลัก
          1. นางสาวสุภานัน อินนอก หอผู้ป่วยวิกฤต ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ชั้น 5 งานการพยาบาลระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช

ผู้ร่วมวิจัย
          2. นางสาววิชชุดา ดอกผึ้ง หอผู้ป่วยวิกฤต ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ชั้น 5 งานการพยาบาลระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช
          3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมล อุดล สาขาวิชาเวชศาสตร์ป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดและเมตะบอลิสม ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
          4. รองศาสตราจารย์วรวงศ์ ศลิษฏ์อรรถกร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
          5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ สวัสดิ์วิภาชัย ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ประโยชน์ต่อผู้ป่วย :
          การใช้ early extubation protocol ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์การประเมินเมื่อแรกรับหลังผ่าตัดทุกราย ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีความปลอดภัย และได้รับการดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยแบบประเมินประกอบด้วย inclusion criteria และ exclusion criteria เมื่อผู้ป่วยประเมินผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 จึงใช้ early extubation protocol  ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการ wean ventilator ที่มีแบบแผน และไม่มีความเสี่ยงในการถอดท่อทางเดินหายใจเร็ว เนื่องจาก early extubation protocol มีขั้นตอนการประเมินผู้ป่วยที่มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยปลอดภัย และผลการวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การถอดท่อช่วยหายใจเร็วนั้น ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่แตกต่างจากการใส่คาท่อช่วยหายใจไว้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วย มีความสุขสบายมากขึ้น สื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ได้ดีขึ้น ลดความเจ็บปวดจากการใส่คาท่อทางเดินหายใจ การดูดเสมหะ และภาวะแทรกซ้อนจากการใส่คาท่อทางเดินหายใจนาน ลดการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยผู้ใหญ่ อีกทั้งผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใส่คาท่อทางเดินหายใจได้ด้วย

ประโยชน์ต่อหน่วยงาน :
          ทำให้บุคลากรในหน่วยงาน ได้แก่ หัวหน้าโครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย เข้าใจขั้นตอนการทำ R2R โดยเฉพาะการมองปัญหาจากการทำงาน และวางแผนในการทำงานวิจัยเรื่องต่อไปในหน่วยงาน สมาชิกในหน่วยงานมีประสบการณ์ในการให้ความร่วมมือในการทำวิจัย ตระหนักถึงความร่วมมือในการทำงานวิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วย และหน่วยงานมองว่าการทำวิจัยไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนสามารถทำหรือมีส่วนร่วมได้

ประโยชน์ต่อการศึกษา :
          early extubation protocol รวมอยู่ในการสอนบุคลากรใหม่ ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดหัวใจ และการดูแลผู้ป่วยใส่ท่อทางเดินหายใจ บรรจุเนื้อหาในหลักสูตรการฝึกอบรมการพยาบาลทางคลินิกเฉพาะสาขา หลังปริญญาตรี (post baccalaureate residency training program) สาขาการพยาบาล ผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด

ประโยชน์ต่อบุคลากรในหน่วยงาน :
1. พยาบาลปฏิบัติการ
          – มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยแรกรับภายหลังผ่าตัดหัวใจที่ใส่คาท่อทางเดินหายใจ และให้การพยาบาลตามมาตรฐานเดียวกัน
          – สามารถประเมิน หรือคาดการณ์อาการผู้ป่วยได้จากแบบประเมิน criteria ของ early extubation protocol
          – ลดภาระงานในการดูแลผู้ป่วยเนื่องจาก ผู้ป่วยที่ใส่คาท่อทางเดินหายใจมีชั่วโมงในการให้การพยาบาลมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ใส่คาท่อทางเดินหายใจ

2. พยาบาลหัวหน้าเวร
          – นำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารบุคลากร ในการมอบหมายพยาบาลที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ในกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินดังกล่าว สามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด complication หรือต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พยาบาลที่ดูแลจึงต้องเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์ หรือมี competency ที่สามารถ early detect ปัญหาผู้ป่วยได้ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยในแต่ละเวรมีพยาบาลที่ competency แตกต่างกัน
          – เบิกของใช้ผู้ป่วยน้อยลง ทำให้มีเวลาในการบริหารจัดการในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

3. ผู้ช่วยพยาบาล ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย เช่น การเปลี่ยนอุปกรณ์ดูดเสมหะ ให้การดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เช่น การทำความสะอาดปากฟัน เนื่องจากผู้ป่วยสามารถแปรงฟันเองได้

4. ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล (ธุรการ) ลดการจัดเก็บวัสดุคงคลังที่มากเกิดความจำเป็น เบิกของคงคลังน้อยลง เพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บวัสดุคงคลังอื่นๆ ตามระบบ first in first out ที่ชัดเจน

5. พนักงานทั่วไป ลดกระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดความสูญเสีย เช่น การเดินส่ง blood gas หลายครั้ง การเก็บขยะที่จำนวนมากขึ้น

ตีพิมพ์ : Innok S, Dokphueng W, Udol K, Slisatkorn W, Sawasdiwipachai P. Clinical outcomes and cost of ventilator weaning and endotracheal extubation guided by an established ventilator weaning protocol in patients undergoing elective cardiac surgery. Siriraj Med J 2021;75:815-22.

          นำเสนอในการประชุมระดับชาติ คือ งานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 35 ของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย วันที่ 14 มีนาคม 2564 ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร

ผลงานวิจัยนี้ได้รับทุนวิจัย : ทุนพัฒนาการวิจัย บริหารจัดการโดยหน่วยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัยนี้เคยได้รับรางวัล : โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ ชื่อรางวัล รางวัลผลงานวิชาการ R2R ดีเด่น ในงานประชุมวิชากรกระทรวงสาธารณสุขกับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุค New normal ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2563

วิธีการศึกษา :
          A quasi-experimental study, pre-post control-intervention กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย post cardiac surgery ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ (adult congenital heart disease) ที่ได้รับการวางแผนการผ่าตัดล่วงหน้า ไม่ใช่การผ่าตัดแบบฉุกเฉิน อายุ 18-75 ปี ผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดเป็นครั้งแรก ejection fraction (EF)≥45% หรือ fair-good LV systolic dysfunction, right ventricular systolic pressure (RVSP)≤60 mmHg ในผู้ป่วย valvular heart disease หรือ adult congenital heart disease และได้รับอนุญาตจากแพทย์ที่ทำการผ่าตัด (inclusion criteria ประเมินก่อนผ่าตัด)
          หลังผ่าตัดภายใน 2 ชั่วโมง หลังรับไว้ใน ICU ประเมินสภาพผู้ป่วยตามเกณฑ์ไม่รับเข้าในการศึกษาภายหลังผ่าตัด (exclusion criteria) ได้แก่ The Richmond agitation and sedation scale (RASS) <-2, inadequate gas exchange (SpO2<95%), serious arrhythmia, unstable hemodynamic ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกจากท่อระบายทรวงอก >100 mL/hr ในเวลา 1 ชั่วโมง ติดต่อกันนาน 2 ชั่วโมง new stroke และผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจยาก
          ผู้ป่วยกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งสอง ใช้แบบแผนการหย่าเครื่องช่วยหายใจภายใน 6 ชั่วโมง (early extubation)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผู้วิจัยหลัก นางสาวสุภานัน อินนอก สังกัด หอผู้ป่วยวิกฤต ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ชั้น 5 งานการพยาบาลระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช

แหล่งที่มา Innok S, Dokphueng W, Udol K, Slisatkorn W, Sawasdiwipachai P. Clinical Outcomes and Cost of Ventilator Weaning and Endotracheal Extubation Guided by An Established Ventilator Weaning Protocol in Patients Undergoing Elective Cardiac Surgery. Siriraj Medical Journal. 2021 Dec 1;73(12):815-22.

เว็บไซต์ he02.tci-thaijo.org/index.php/sirirajmedj/article/view/255150

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.