การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS)
เรื่อง แนวทางการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยผู้ใหญ่ (Ventilator-associated Pneumonia: VAP)
การเกิดปอดอักเสบจากการใส่ท่อช่วยหายใจ (VAP) เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติโรงพยาบาลศิริราช ปี 2557-2558 พบอัตราการเกิด VAP ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ อยู่ระหว่าง 4.40-8.51 per 1,000 ventilator day และสูงกว่าเป้าหมายโดยไม่มีแนวโน้มลดลง แม้ว่าจะมีกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในแต่ละหอผู้ป่วย ดังนั้น ฝ่ายการพยาบาล งานโรคติดเชื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ Core Team ของชุมชนนักปฏิบัติพยาบาลป้องกัน VAP โดยรองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพเป็นประธาน วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความรู้โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ Siriraj Link-Share-Learn และเครื่องมือ Siriraj Concurrent Trigger Tool ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้พัฒนาขึ้น จัดทำเป็นความรู้พร้อมใช้ในรูปแบบ แนวทางการป้องกันการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยผู้ใหญ่จากการใส่เครื่องช่วยหายใจ (WHAP-C Bundle) ได้แก่ W: Weaning, H: Hand hygiene, A: Aspiration precautions, P: Prevention contamination และ C: Chest physiotherapy และนำไปใช้ในหอผู้ป่วยนำร่อง พบว่า ผลลัพธ์มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน จึงจัดทำระเบียบปฏิบัติและขยายผลไปในหอผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีการใช้เครื่องช่วยหายใจทั้งโรงพยาบาล จากการติดตามผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พบว่า อัตราการเกิด VAP ลดลงตามลำดับ
ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติม >> SiCTT : แนวทางการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยผู้ใหญ่ (3981 downloads )
หากท่านสนใจและนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ กรุณติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-9009, 9750 ต่อ 505