การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS)
เรื่อง แนวทางการตาม Code D-delta สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลและห้องฉุกเฉิน ที่มีภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยาก โรงพยาบาลศิริราช (Guideline for Activation Code D-delta in Siriraj adult inpatients and patients in the emergency room with difficult intubation)
อุบัติการณ์ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจยาก เป็นความเสี่ยงที่โรงพยาบาลศิริราชให้ความสำคัญ เนื่องจากส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ซึ่งภาควิชาวิสัญญีวิทยามีหน้าที่รับผิดชอบในการใส่ท่อช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยในห้องผ่าตัดเพื่อระงับความรู้สึกเป็นหลัก และมักมีการปรึกษาเรื่องการใส่ท่อช่วยหายใจนอกห้องผ่าตัดจากภาควิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจยาก ประกอบกับยังพบอุบัติการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจยากในโรงพยาบาล ทำให้ต้องมีการนำกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุกในการดูแลรักษาผู้ป่วยขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ โดยใช้ Siriraj Link-Share-Learn ที่เรียกว่า Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) กำหนดตัวส่งสัญญาณแต่เนิ่น ๆ (Modified Early Warning Signs: MEWS) และพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในการตาม Code D-delta สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลและห้องฉุกเฉินที่มีภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยาก โรงพยาบาลศิริราช (Guideline for Activation Code D-delta in Siriraj adult inpatients and patients in the emergency room with difficult intubation) หลังจากนั้นมีการทดลองใช้ ปรับปรุงแนวปฏิบัติร่วมกันจนเป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายผลได้ทั้งคณะฯ
ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติม >> SiCTT : แนวทางการตาม Code D-delta สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลและห้องฉุกเฉิน ที่มีภาวะใส่ท่อช่วยหายใจยาก โรงพยาบาลศิริราช (บทความ) (497 downloads )
หากท่านสนใจและนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ กรุณติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-9009, 9750 ต่อ 505-506
มีมาตรฐานในการทำงานทุกด้าน สมกับเป็นสถานพยาบาลอันดับหนึ่งของประเทศจริงๆค่ะ