การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS)
เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้
ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) เป็นภาวะฉุกเฉินที่โรงพยาบาลศิริราชให้ความสำคัญ
เนื่องจากเป็นภาวะที่ส่งผลให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย และควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน พยาบาลเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หากมีแนวทางปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด cardiac arrest เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นอย่างทันท่วงที จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ผลลัพธ์การดูแลรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการนำกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุกในการดูแลรักษาผู้ป่วยขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ ที่เรียกว่า Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) กำหนดตัวส่งสัญญาณแต่เนิ่น ๆ (Modified Early Warning Signs: MEWS) โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ Siriraj Link-Share-Learn พัฒนาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้ (Siriraj Concurrent Trigger Tool: Modify Early Warning Sign for Pre Arrest signs in Adult Patients) เพื่อให้พยาบาลสามารถเฝ้าระวัง ดักจับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) หลังจากนั้นจึงมีการประชุมปรึกษาแนวทางการดำเนินการ การทดลองใช้ ปรับปรุงแนวปฏิบัติร่วมกันจนเป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายผลเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันทั้งคณะฯ
ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติม
SiCTT : แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นจากสาเหตุที่ป้องกันได้ (บทความ) (580 downloads )
หากท่านสนใจและนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ กรุณติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-9009, 9750 ต่อ 505-506