บทเรียนการประชุมวิชาการงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2563
เรื่อง “หลังสู้ภัยโควิดวิถีใหม่เพื่อสร้างวัฒนธรรม 2P Safety ในระบบบริการผู้ป่วย”
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 11.00-12.00 น.
การถ่ายทอดสดด้วยสัญญาณภาพ/เสียง ผ่านระบบ online network

วิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รศ. นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช

ผู้ดำเนินการอภิปราย
รศ. พญ.อรอุมา ชัยวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ
พว.นันทพร พ่วงแก้ว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

การปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้นำระดับประเทศในด้านคุณภาพของระบบบริการสุขภาพ (3P: Patient, Personal, Public) หลังวิกฤต COVID-19 และการจัดการ COVID-19 ของศิริราชเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นวัฒนธรรมโดยใช้ 2P Safety

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ เมื่อพูดถึงวัฒนธรรม 2P Safety นั้น เป็นเรื่องความปลอดภัย 2 อย่าง คือ Patient และ Personal แต่ถ้าพูดถึง Safety Culture นั้น เป็นเรื่อง Performance ระดับพฤติกรรมที่สัมผัสได้ เป็นพฤติกรรมที่คนในกลุ่มสร้างขึ้น จากการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำมาใช้ร่วมกันในกลุ่มเพื่อความปลอดภัย สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เผชิญกับวิกฤต COVID-19 บุคลากรด้านการแพทย์ เกิดการเรียนรู้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไรบ้างในระบบบริการสุขภาพเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จึงต้องศึกษาดูว่า 2P Safety กับ COVID-19 นั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยสิ่งที่เกิดขึ้นมีดังนี้
– การเปลี่ยนแปลงของระบบการให้บริการในโรงพยาบาล ทั้งในระบบการดูแลผู้ป่วย มาตรฐานความปลอดภัย และการป้องกันด้านต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ
– วิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินการของผู้นำ ทำอย่างไรให้บุคลากรที่ทำงาน และผู้ป่วยที่เข้ารับบริการปลอดภัยจาก COVID-19
– นวัตกรรมต่าง ๆ และระบบบริหารจัดการที่เกิดขึ้นในช่วง COVID-19 เพื่อช่วยให้การทำงานปลอดภัย และลดข้อจำกัดบางอย่างที่อาจเกิดขึ้น
– ทีมดูแลระบบสุขภาพ ไม่จำกัดเฉพาะบุคลากรในโรงพยาบาล แต่ยังขยายไปในชุมชน มีอสม. เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วยเมื่อมีการส่งต่อกลับไปรักษาตัวที่บ้าน
– การดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นของประชาชนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น การล้างมือ การใส่หน้ากาก
– การบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ชุดป้องกันการติดเชื้อ
– กระบวนการป้องกันการติดเชื้อในผู้ปฏิบัติงาน

รศ. นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ถึงการดำเนินการของโรงพยาบาลศิริราชในช่วงที่ผ่านมากับการสร้างวัฒนธรรม 2P Safety ในระบบบริการผู้ป่วยนั้น ต้องการสร้างให้เป็นวัฒนธรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลง และวัดผลลัพธ์ได้ โดยช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา พฤติกรรมของบุคลากรในโรงพยาบาลศิริราชเปลี่ยนแปลงไปมาก ผลลัพธ์ที่วัดได้คือ ไม่พบผู้ติดเชื้อ ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ป่วย และผู้ป่วยกับบุคลากร ซึ่งศิริราชมีการประกาศ Siriraj 2P Safety Goals “รวมพลัง ตั้งเป้า เฝ้าระวัง ศิริราชสู่ความปลอดภัย” ในเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยมีการปรับแผนดำเนินการให้สอดคล้องในช่วง COVID-19 ซึ่งหนึ่งในจุดเน้น Siriraj Patient Safety Goals 2019 และ Siriraj Personal Safety Goals 2019 นั้น ที่สอดคล้องกันคือ I เป็นเรื่องของ Infection การปรับแผนรองรับในช่วง COVID-19 มีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจ ปรับผังพื้นที่การรับผู้ป่วย COVID-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เริ่มตั้งแต่จุดคัดกรองห้องตรวจแยกโรคที่สงสัยว่าเป็นผู้ป่วย COVID-19 บริเวณห้องฉุกเฉิน ปรับหอผู้ป่วยตึก 10 ที่เป็น Siriraj Isolation Unit ให้ใช้เฉพาะผู้ป่วย COVID-19 มีการใช้ Code E (Emerging Infectious Disease) เข้ามาช่วย เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อที่เป็นอันตรายและทำความสะอาดพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนจากเชื้อได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย เมื่อมีโรคติดต่อเข้ามา ทุกคนต้องมีการตื่นตัว ตระหนัก โดยศิริราชนั้น รับผู้ป่วย COVID-19 ที่สงสัยคนแรก 24 มกราคม 2563 และผู้ป่วยที่เป็น COVID-19 31 มกราคม 2563 โดยทีมมีการประชุมติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง ศึกษาข้อมูลรอบด้านโดยมีแผนรองรับอย่างมีเป้าหมายตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยที่สงสัย มีการสื่อสารสร้างความตระหนักให้กับผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน การปรับพื้นที่การทำงานทั้งในหอผู้ป่วย และหน่วยตรวจให้อากาศถ่ายเทสะดวก รวมทั้งมีการสร้างและเผยแพร่แนวปฏิบัติของบุคลากรเมื่อกลับจากประเทศเสี่ยง หรือสงสัยว่าได้รับเชื้อ COVID-19 มีการสื่อสารความรู้ และวิธีการป้องกันการติดเชื้อไปสู่ประชาชน การล้างมือ การใช้หน้ากากป้องกัน เพื่อสร้างความตระหนักให้บุคลากร และประชาชน โดยโรงพยาบาลมีการออกแบบ และผลิตหน้ากากอนามัยแจกบุคลากร การให้ชุด PPE กับบุคลากรหน้างานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับต่าง ๆ มีการฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สร้างแนวปฏิบัติร่วมกันในผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และคาดว่าจะติดเชื้อ COVID-19 จนกระทั่งผู้ป่วยกลับบ้าน การทำเว้นระยะห่างในพื้นที่ต่าง ๆ (Social Distancing) การทำลายเชื้อในสถานที่ สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล มีการปรับปรุงหอผู้ป่วยต่าง ๆ ตามมาตรฐาน
พวกเราจะสร้าง Safety Culture ได้อย่างไร…

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> หลังสู้ภัยโควิดวิถีใหม่เพื่อสร้างวัฒนธรรม 2P Safety ในระบบบริการผู้ป่วย (282 downloads )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.