Knowledge base หรือ ฐานความรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคน (tacit knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) ซึ่งความรู้ที่อยู่ในตัวคน ความรู้ที่อยู่ในตัวคนถือเป็นความรู้ที่มีคุณค่าอย่างมาก เนื่องจากเป็นความรู้ที่อยู่ ภายใน เป็นประสบการณ์ที่สะสมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ส่วนความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ภายในแปลงออกมาเป็น ภายนอก เป็นความรู้ที่จับต้องได้ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยบริบทของการจัดการความรู้ (KM) ขององค์กร ควรเป็นแหล่งส่งออกความรู้ หรือแหล่งการเข้าถึงความรู้ที่สำคัญ เพื่อให้ผู้อื่นเกิดการแบ่งปัน นำไปใช้ และพัฒนาต่อไป ทั้งนี้ KM ควรระบุความรู้สำคัญหรือกำหนดพื้นที่ความรู้หลักที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการสร้างฐานความรู้ที่ชัดแจ้ง และส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร

       ฐานความรู้ ก่อให้เกิดพื้นที่ทำงานร่วมกัน ทำให้คนจำนวนมากเข้าถึงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ และแก้ไขความรู้ที่มีอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยมีฝ่ายสารสนเทศเป็นทีมสนับสนุน

ขั้นตอนสร้างฐานความรู้ มีดังนี้

       ขั้นตอนที่ 1 ระบุความรู้สำคัญที่ต้องการ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร และใช้การตั้งคำถามว่า “อะไรคือพื้นที่ความรู้ ถ้านำมาบริหารจัดการให้ดีขึ้น จะส่งผลให้เกิดความแตกต่างอย่างมีประสิทธิภาพต่อองค์กรมากขึ้นหรือไม่?”

       ขั้นตอนที่ 2 กำหนดรูปแบบฐานความรู้ โดยพิจารณาว่าฐานความรู้ที่สร้างจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการ หรือผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาในการแก้ไข เสนอแนะ และปรับปรุงความรู้ที่มีหรือไม่ หรือจะเป็นฐานความรู้แบบเปิดสาธารณะ เพื่อให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วม และสามารถแก้ไขความรู้ได้ด้วยตนเอง

       ขั้นตอนที่ 3 แต่งตั้งผู้จัดการฐานความรู้ ในกรณีที่จำเป็นต้องมีผู้บริหารจัดการ ควรดำเนินการแต่งตั้งผู้จัดการฐานความรู้ และพัฒนากระบวนการ เพื่อรับความคิดเห็น การเรียนรู้และความคิดใหม่ รวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุง การวัดผล เป็นต้น

       ขั้นตอนที่ 4 สร้างฐานความรู้ โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ wikis และพัฒนากรรมสิทธิ์ฐานความรู้รวมทั้งความต้องการพิเศษนอกเหนือการทำงานของ wiki

       ตัวอย่าง
       Knowledge base หรือ ฐานความรู้ กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล (ดังเอกสารแนบ)

ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติม >> Knowledge base กับตัวอย่างกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) (435 downloads )

เรียบเรียงโดย
นางสาวชลิตา มิ่งขวัญ
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.