ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้ทันยุค ทันสมัย จึงต้องมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างการเติบโตภายในองค์กรอยู่เสมอ ดังนั้น การสร้างเสริมให้บุคลากรเข้าใจ และมีการคิดเชิงนวัตกรรม เห็นเป้าหมายในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเช่นเดียวกับผู้นำองค์กร จะทำให้สามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมกระบวนการทำงาน (Process Innovation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล และความคุ้มค่าให้บรรลุเป้าหมายองค์กร ต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ คือ ด้านการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service Innovation) และท้ายสุด คือ การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ (Business Model Innovation) ซึ่งจะปรับให้องค์กรเกิดการเติบโตทางธุรกิจ มีความเชื่อถือ/เป็นที่ยอมรับ และสู่ความยั่งยืน
ผลลัพธ์ของการคิดเชิงนวัตกรม (Innovative Thinking) ประกอบด้วย
- ได้ทีมดำเนินงานเข้มแข็ง มองไปในทิศทางเดียวกัน
- ได้ผลลัพธ์การทำงานที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด
- ได้รางวัลจากการส่งนวัตกรรมประกวด และนวัตกรรมทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
- ได้บุคลากรที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ได้เรียนรู้ระบบวิธีคิด การทำงานอย่างเป็นระบบ ไม่มองปัญหาในการทำงานแบบผ่านไป
การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) เป็นการสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาบุคลากรให้มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม จนสามารถพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางการบริการ (Service Innovation)
อ่านบทความเพิ่มเติม ได้ที่ Innovative Thinking การคิดเชิงนวัตกรรม (1100 downloads )
เรียบเรียงโดย นายเอกราช จันทรประดิษฐ์
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ที่ปรึกษาด้านเนื้อหา ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดวงมณี เลาหประสิทธิพร
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ลับสมองกับ Mr.KM