สุนทรียสาธก  (Appreciative Inquiry : AI ) อีกเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้ในองค์กร

เมื่อพูดถึงการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) หลายคนอาจสงสัยว่าที่เราดำเนินการอยู่ในหน่วยงานนั้น มีการนำ KM เข้ามาประยุกต์ใช้แล้วหรือยัง หรือมีเครื่องมืออะไรที่ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วันนี้งานจัดการความรู้ขอแนะนำเครื่องมือ “Appreciative Inquiry” ที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า “สุนทรียสาธก” หรือกระบวนการตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์

Appreciative Inquiry เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนให้เกิดการถามคำถามในเชิงบวก ค้นหาสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบดำเนินไปอย่างดีที่สุด สามารถนำไปใช้ได้กับการสนทนาในทีมงานกลุ่มเล็ก ๆ ไปจนถึงกลุ่มคนจำนวนมากระดับองค์กร ซึ่งกระบวนการทำ Appreciative Inquiry จะเน้นมุมมองด้านบวก ส่งเสริมให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจที่นำไปสู่กระบวนการคิดค้น พัฒนางาน และสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ

Appreciative Inquiry ต่างจากกระบวนการแก้ปัญหาแบบเดิม คือ กระบวนการเดิม มักจะเริ่มต้นที่ตัวปัญหา และมุ่งแก้ไขความผิดพลาดที่ผ่านมา ขณะที่กระบวนการ Appreciative Inquiry เริ่มต้นจากการมองในด้านดี นำสิ่งดี ๆ มาคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าหรือดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน หรือทำกิจกรรมกลุ่มได้ ผ่านการตั้งคำถามเชิงบวกในประเด็นนั้น ๆ ซึ่งแนวคิดในการใช้ Appreciative Inquiry มี 5 ขั้นตอน คือ Define, Discovery, Dream, Design และ Destiny

…การทำ Appreciative Inquiry ไม่ใช่เรื่องยาก บุคลากรในคณะฯ สามารถนำไปปรับใช้ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่ม หน่วยงาน การทำ Appreciative Inquiry เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการขับเคลื่อนคณะฯ ทำให้บุคลากรในคณะฯ ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีความสุข ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงาน และบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจคณะฯ ต่อไป

อ่านบทความเพิ่มเติม ได้ที่ สุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry) (752 downloads )

เรียบเรียงโดย นางสาวปารวี สยัดพานิช
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ที่ปรึกษาด้านเนื้อหา ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดวงมณี เลาหประสิทธิพร
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.