การปลูกถ่ายตับ เป็นหัตถการที่ทำการตัดเอาอวัยวะตับทั้งหมดของผู้ป่วยออก และทำการปลูกถ่ายตับใหม่เข้าไปในช่องท้องของผู้ป่วย โดยปัจจุบันการผ่าตัดปลูกถ่ายตับถือเป็นหนึ่งในการรักษาที่เป็นมาตรฐานสำหรับภาวะตับที่ผิดปกติหลายประเภท ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการรักษาผู้ป่วยด้วยการปลูกถ่ายตับคือ ต้องการให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอัตราการรอดชีวิตสูง อวัยวะตับที่ได้ทำการปลูกถ่ายเข้ากับผู้ป่วยได้ดี ซึ่งการที่จะได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีนั้น บุคลากรต้องมีการทำงานสอดคล้องกัน ประสานงานกันระหว่างบุคลากรหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาล การประสานงานจากภายนอก เนื่องจากต้องมีการบริจาคอวัยวะที่จะทำการปลูกถ่าย กระบวนการทั้งหมดต้องทำอย่างรวดเร็ว เพื่อนำตับจากผู้บริจาคมาทำการปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ซึ่งกระบวนการทำงานมีขั้นตอนที่มีรายละเอียดมาก จึงได้มีการประชุมเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ปรึกษาหารือร่วมกันถึงแนวทางในการประสานงานกัน เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด โดยมีการใช้เครื่องมือ Siriraj Clinical Tracer Plus ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ วันนี้ KM จะพาทุกคนไปดูกันว่าทีมปลูกถ่ายตับ จะมีกระบวนการดำเนินงานอย่างไร มีการบูรณาการการใช้เครื่องมือ SiCT+ อย่างไรบ้าง ติดตามได้ใน KM Society : Siriraj Clinical Tracer Plus : Liver Transplantation
โดย
ผศ. นพ.ประวัฒน์ โฆสิตะมงคล ภาควิชาศัลยศาสตร์ฯ
ภก.รัชวัฒน์ พรมราช ฝ่ายเภสัชกรรม
คุณวิไลลักษณ์ บุญวิทยาลิขิต งานการพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์
คุณศิวพร ถือชาติ งานเปลี่ยนอวัยวะโรงพยาบาลศิริราช
ดาวน์โหลด
Siriraj Clinical Tracer Plus : Liver Transplantation (วีดิทัศน์) (51 downloads )