CoP วิจัยทางการพยาบาล เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีการจัดกิจกรรม CoP อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2548 เพื่อให้บุคลากรฝ่ายการพยาบาลที่มีการสร้าง หรือสนใจงานวิจัย ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการพัฒนางานวิจัย และนำลงสู่การปฏิบัติร่วมกัน
คุณเอื้องพร พิทักษ์สังข์ หัวหน้างานวิจัยและสารสนเทศการพยาบาล หนึ่งในทีมแกนหลัก และเป็นผู้เชี่ยวชาญของกลุ่ม CoP วิจัยทางการพยาบาล เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งกลุ่ม CoP เริ่มจากกรรมการวิจัยและตัวแทนจากทุกงานการพยาบาลมาประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ การผลิตงานวิจัยที่ช่วยปิด Gap และพัฒนางานประจำให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งทางทีมนำ Siriraj KM Strategy มาประยุกต์ใช้ โดยร่วมกันทบทวนปัญหารวมถึงประเด็นที่คิดว่าเป็นโอกาสพัฒนา เพื่อนำมาเรียนรู้ร่วมกัน (Learn) ปัญหาส่วนหนึ่งที่พบคือ มีบางงานการพยาบาลที่ไม่สามารถผลิตงานวิจัยออกมาได้ หรือไม่ทราบว่าปัญหาที่พบในการทำงานนั้น สามารถต่อยอดสู่งานวิจัยได้ จึงหากระบวนการ (Link) ที่ให้ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ จากงานการพยาบาลที่สามารถผลิตงานวิจัยได้ มีเวทีมาแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ (Share) ซึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้คือ CoP โดยนำความรู้ประสบการณ์แต่ละคน (Tacit Knowledge) มาแบ่งปัน แก้ปัญหา และเกิดกระบวนการเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ในการสร้างและต่อยอดงานวิจัยร่วมกัน (Explicit Knowledge)
อ่านบทความเพิ่มเติม
บทความ ต่อยอดประสบการณ์ สู่การพัฒนากระบวนการทำงาน กับ CoP วิจัยทางการพยาบาล (267 downloads )
ดาวน์โหลดวีดิทัศน์ ได้ที่
วีดิทัศน์ ต่อยอดประสบการณ์ สู่การพัฒนากระบวนการทำงาน กับ CoP วิจัยทางการพยาบาล (167 downloads )