ถอดบทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 23
Synergy for Safety and Well-being (ผนึกกำลังเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะ)
เรื่อง “การสร้างทีมแห่งพลังร่วม : How to Create A Synergy Between Different Generations in Your Team?”
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 10.00 น.
ณ ห้องสัมมนา Sapphire 205 ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี

วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พว.เฉลาศรี เสงี่ยม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
พว. ดร.ภัทรพร เขียวหวาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
พว.จันทนา จินาวงศ์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

พว.จันทนา  จินาวงศ์ เล่าถึงประสบการณ์การบริหารจัดการและการดำเนินการในบทบาทรองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลด้านทรัพยากรบุคคลว่า การขับเคลื่อนบุคลากรในแต่ละ generation มีความแตกต่างกัน baby boomers (5.29%) เป็นคนมีเหตุผลเป้าหมายชัดเจน พูดคุยด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน Gen X (23.81%) เป็นคนเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็น พูดคุยแบบตรงไปตรงมา Gen Y (64.42%) มีความคิดรวดเร็ว มีแนวคิดใหม่ ๆ ที่ทันสมัย และ Gen Z (7.48%) เป็นคนไม่ยุ่งยาก ไม่เป็นทางการ ใช้คำที่เข้าใจง่าย ต้องทำความเข้าใจกับบุคลากรในแต่ละกลุ่ม ทางโรงพยาบาลมีศูนย์อินทรีจัดตั้งขึ้นเพื่อประเมินและจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรเสริมทักษะความรู้ให้เหมาะสมในแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ระดับ 1 อายุงาน 0-1 ปี ระดับ 2 อายุงาน 1-3 ปี ระดับ 3 อายุงาน 3-5 ปี ระดับ 4 อายุงาน 5-10 ปี และระดับ 5 อายุงาน 10 ปีขึ้นไป มีโครงการ Succession plan star talent จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องที่อยู่ในความสนใจขณะนั้น ร่วมกับหลักสูตรของผู้บริหาร เช่น เทคนิคการสื่อสาร เทคนิคการเจรจาต่อรอง การใช้โปรแกรมออกแบบต่าง ๆ มีทุนการศึกษาสนับสนุนในการเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ทุกปี มีสวัสดิการหอพักสำหรับบุคลากร แผนพัฒนาบุคลากรฝ่ายการพยาบาล มีหลักสูตรสำหรับพยาบาล APN และ nurse case manager คือ หลักสูตรออสโตมีและแผล และหลักสูตรพยาบาลไตเทียม มีนโยบายการสนับสนุนด้านเวลาให้กับบุคลากรที่มีผลงานเชิงประจักษ์ พัฒนาสมรรถนะบุคลากร ช่วยเหลือการเตรียมความพร้อมในการสมัครสอบ และสนับสนุนการขอทุนในการศึกษาต่อ APN โดยในปี 2565 ทางโรงพยาบาลมี nurse case manager 75 คน อยู่ใน 5 สาขาวิชา ซึ่งทุก Disease Specific Certification: DSC มีบุคลากรฝ่ายการพยาบาลที่เป็น APN และ nurse case manager เข้าร่วม และมีการกำหนดตัวชี้วัดคือ มี 2 DSC/ปี ในส่วนบทบาทการเป็น Facilitator นั้น พว.จันทนา เล่าว่า เมื่อได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำ DSC การทำงานมีความเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพมากขึ้น โดยมองระบบการดูแลผู้ป่วย นโยบายองค์กร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าสามารถดำเนินการได้ดีแล้วหรือไม่ ผลลัพธ์การดำเนินการเป็นอย่างไร โดยการดำเนินการสู่ความสำเร็จของทีมประกอบด้วย เครื่องมือคุณภาพต่างๆ PDCA, DALI, Clinical tracer, Driver Diagram และ Risk register การดำเนินการ DSC นั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการทั่วไป การวางแผนและบริหารแผน การมุ่งเน้นผู้ป่วยและสิทธิผู้ป่วย การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ ระบบงานสนับสนุน กระบวนการดูแลผู้ป่วย และผลลัพธ์ สุดท้ายจำเป็นต้องพัฒนาทักษะด้านการพยาบาล และวิทยาการด้านสารสนเทศ เพื่อให้องค์กร และฝ่ายการพยาบาลก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

พว. ดร.ภัทรพร  เขียวหวาน เล่าถึงประสบการณ์การทำหลักสูตร Post Baccalaureate Residency Training เป็นการพัฒนาพยาบาลจบใหม่ให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่จบการศึกษาจนกระทั่งมีสมรรถนะด้านการพยาบาลเฉพาะทาง มีประสบการณ์การทำงานครบ 3 ปี โดยมุ่งหวังในการเพิ่มการผลิตพยาบาลเฉพาะทางเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคตาม service plan รองรับการให้บริการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ 28 ศูนย์ และระบบการพยาบาลแบบ total care กระบวนการเรียนรู้ในช่วง 6 เดือนแรก เป็นการปฐมนิเทศและ onboarding ภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยงประจำหอผู้ป่วย เน้น socialization เพื่อการปรับตัวของพยาบาลใหม่ เน้นการปฏิบัติงานตามมาตรฐานเพื่อ patient safety & personnel safety และหลัง 6 เดือน เมื่อเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น จะเริ่มให้เรียนรู้การพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางในรายที่ไม่ซับซ้อน และมีการ conference เพื่อเพิ่มสมรรถนะการดูแลผู้ป่วย total care โดยประเด็นที่ได้เรียนรู้จาก pilot study และการพัฒนาระบบฝึกอบรมใน phase แรกคือ พยาบาลใหม่ที่มีพี่เลี้ยงคนเดิมดูแลทุกวันจะทำให้มีความมั่นใจในการทำงานมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีพี่เลี้ยงคนเดิมคอยดูแลในช่วง 3 เดือนแรกของการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การออกแบบระบบการฝึกอบรมที่กำหนดให้ใน 3 เดือนแรก พยาบาลใหม่ควรขึ้นปฏิบัติงานคู่กับพี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาปฏิบัติงาน และหอผู้ป่วยที่มี unit-based CNE พยาบาลจะได้รับการพัฒนาสมรรถนะได้ดีกว่า หอผู้ป่วยที่ไม่มี unit-based CNE นำไปสู่การออกแบบระบบฝึกอบรมที่กำหนดให้มีระบบ unit-based CNE – nurse preceptor ประจำอยู่ทุกหอผู้ป่วย สิ่งที่บูรณาการตามรูปแบบ Post Baccalaureate Residency Training ของสภาการพยาบาลนั้น ปี 2561 สามารถออกประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางได้ โดยปัจจุบันมีทั้งสิ้น 20 สาขา บุคลากรในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมอบรมส่วนมากเป็น Gen Z (15%)  โดย Gen X และ Gen Y จะเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งส่วนมากเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย หลังจากมีการอบรม ทำกิจกรรม ทำความรู้จักเข้าใจตนเอง รู้จักพี่เลี้ยงของตนเองก่อนการปฏิบัติงานแล้วพบว่าความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างพี่เลี้ยงกับน้องนำไปสู่การเรียนรู้

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> การสร้างทีมแห่งพลังร่วม : How to Create A Synergy Between Different Generations in Your Team? (80 downloads )

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาวปารวี สยัดพานิช
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านบทเรียน HA National Forum อื่น ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.