การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS)
เรื่อง Pressure Injury Preventionแผลกดทับเป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามคุณภาพชีวิตและชีวิตของผู้ป่วย ทั้งก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วยและระบบสุขภาพ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มีนโยบายกำหนดให้อัตราการเกิดแผลกดทับเป็นเครื่องชี้วัดผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยและแสดงถึงคุณภาพการดูแลผู้ป่วย จากการติดตามผลลัพธ์ พบว่า อัตราการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาลยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (Learn) จึงมีการระบุผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ ผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อร่วมกันค้นหาองค์ความรู้ ทักษะปฏิบัติ ทั้ง Tacit และ Explicit Knowledge เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติ (Link) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบ CoP ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ แบ่งปัน สกัดความรู้และประสบการณ์สำคัญ และจัดทำเป็นแนวปฏิบัติ (Share) โดยนำกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุกในการดูแลรักษาผู้ป่วยขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบที่เรียกว่า Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) กำหนดตัวส่งสัญญาณแต่เนิ่นๆ (Modified Early Warning Signs: MEWS) และพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ (MEWS for Pressure Injury Prevention) หลังจากนั้นมีการทดลองใช้จนเกิดผลลัพธ์ที่ดี จนสามารถขยายผลทั้งคณะฯ ได้
การดำเนินการดังกล่าว ทำให้ทีมได้เรียนรู้กระบวนการสำคัญ เช่น การจัดทำแนวปฏิบัติ การทดลองใช้ การขยายผล และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ซึ่งทีมยังคงมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและพัฒนาปรับปรุงแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลลัพธ์ถึงเป้าหมาย ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติม >> SiCTT : Pressure Injury Prevention (753 downloads )
หากท่านสนใจและนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ กรุณติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-9009, 9750 ต่อ 505
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ