การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS)
เรื่อง Exposure Keratopathy Prevention
Exposure keratopathy เป็นความผิดปกติของกระจกตาที่เกิดจากการหลับตาไม่สนิท ทำให้กระจกตาและเยื่อบุตาแห้ง ส่งผลให้เกิดแผล/การติดเชื้อของกระจกตา และอาจสูญเสียการมองเห็น จากข้อมูลสถิติการรับปรึกษาของภาควิชาจักษุวิทยาเพื่อให้การรักษาภาวะดังกล่าวของผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ป่วยต้องรักษาอาการทางตาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง (Learn) ดังนั้นการประเมินปัจจัยเสี่ยงและให้การดูแลรักษาอย่างรวดเร็วจะลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็น ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังฟื้นหายและจำหน่ายจากโรงพยาบาล งานการพยาบาลจักษุ โสตฯ และภาควิชาจักษุวิทยา จึงร่วมกันพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระจกตาผิดปกติจากการหลับตาไม่สนิท โดยนำกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุกในการดูแลรักษาผู้ป่วยขณะที่อยู่โรงพยาบาลอย่างเป็นระบบที่เรียกว่า Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) กำหนดตัวส่งสัญญาณแต่เนิ่น ๆ (Modified Early Warning Signs: MEWS) ร่วมกับการใช้กระบวนการจัดการความรู้และกลยุทธ์ Siriraj Link-Share-Learn พัฒนาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระจกตาผิดปกติจากการหลับตาไม่สนิท (Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs for Exposure Keratopathy Prevention) โดยระบุผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับผิดชอบหลัก และผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ (Link) กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ค้นหาและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้ง Tacit และ Explicit Knowledge (Share) สกัดความรู้ ทักษะปฏิบัติ และประสบการณ์สำคัญ ทดลองใช้ ปรับปรุงแนวปฏิบัติร่วมกัน พบว่ามีผลลัพธ์ดีขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่นอนโรงพยาบาลได้
ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติม
SiCTT : Exposure Keratopathy Prevention (223 downloads )
22 เม.ย. 65
หากท่านสนใจและนำแนวปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ กรุณติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2419-9009, 9750 ต่อ 505-506