บทเรียนการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2563
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สู่ความเป็นเลิศ เพื่อมวลมนุษยชาติ (World Changer) หลังสู้ภัยโควิด”
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 08.45-09.30 น.
การถ่ายทอดสดด้วยสัญญาณภาพ/เสียง ผ่านระบบ online networkวิทยากร
ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เล่าย้อนกลับไปในจุดเริ่มต้น ในช่วงที่สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยที่ยังคงมีผู้ป่วยจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนถึงราว 3,000 คนนั้น ผลกระทบสำคัญที่เห็นได้ชัด คือ การดำเนินงานของธุรกิจเกือบทุกประเภทต้องหยุดชะงักลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนึ่งในกิจการที่กลายเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดในสถานการณ์นี้คือโรงพยาบาล ซึ่งปกติต้องทำหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วย จะต้องปรับตัวรับสถานการณ์อย่างไรท่ามกลางการระบาดของโรคอุบัติใหม่นี้ทั้งที่ความเจ็บป่วยจากโรคทั่วไปของผู้ป่วยยังมีอยู่แต่กลับมีโรค COVID-19 ระบาดขึ้น
จากการเก็บข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (ภาพที่ 1) สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ได้ และกลุ่มประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ไม่ได้ พบว่าประเทศที่เหมือนจะควบคุมได้ มีจำนวนผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 100-200 คน ในเวลามากกว่า 5 วันขึ้นไป และประเทศที่ควบคุมไม่ได้ มีจำนวนผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 100-200 คน ในเวลาไม่ถึง 3 วัน ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้หารือร่วมกับภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งวันที่ 15 มีนาคม 2563 พบว่ามีผู้ป่วยใหม่มากกว่า 100 ราย บ่งบอกว่าแนวโน้มของประเทศไทยอาจไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป ภายใน 30 วันประเทศไทยจะมีผู้ป่วยใหม่ 351,948 คน จึงทำให้ทางรัฐบาลประกาศใช้ พรบ.ฉุกเฉิน และเริ่มเห็นตัวเลขต่าง ๆ ลดลง โดยขณะนี้เข้าสู่ระยะผ่อนคลาย ระยะที่ 6
“(The Hammer & the Dance) การทุบด้วยค้อน (ควบคุม) และเปิดให้ฟ้อนรำ (ผ่อนคลาย)”
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >> สู่ความเป็นเลิศ เพื่อมวลมนุษยชาติ (World Changer) หลังสู้ภัยโควิด (54 downloads )