“CoP ชุมชนนักปฏิบัติโรคผิวหนัง”
CoP of the year : The Best of Knowledge Learning…3 ปีซ้อน

          คุณสุธาสินี ภัทรวดี หัวหน้ากลุ่ม CoP ชุมชนนักปฏิบัติโรคผิวหนัง เล่าถึงจุดเริ่มต้นของกลุ่มว่า เริ่มจากการรวมตัวของบุคลากรที่สนใจในเรื่องเดียวกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ของงานห้องปฏิบัติการเชื้อรา ซึ่งแรกเริ่มมีเพียง 4-5 คนเท่านั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้แบบพี่สอนงานน้อง และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จากนั้นเมื่อเริ่มมีคนเห็นความสำคัญ จึงมีการต่อยอดเป็นสหสาขาวิชาชีพ โดยมีทั้งอาจารย์แพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ในภาควิชา รวมไปถึงเจ้าหน้าที่เวชระเบียนที่อยู่ในหน่วยตรวจโรคผิวหนัง มาทำงานร่วมกันจนกระทั่งเป็น CoP ชุมชนนักปฏิบัติโรคผิวหนังในทุกวันนี้

          โดยกระบวนการกลุ่มเริ่มจากการเลือกประเด็น โดยเลือกจากสถานการณ์ปัจจุบันในขณะนั้นว่ามี ประเด็นใดที่คนสนใจ ประมาณ 3-4 ประเด็น จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มไปศึกษาในแต่ละประเด็น มีการนัดประชุมกลุ่ม โดยนัดหมายล่วงหน้าเพื่อให้สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่ม เมื่อทุกคนได้ร่วมอภิปรายในประเด็นนั้น ๆ แล้ว จะจัดทำสาระความรู้เป็นรูปแบบแผ่นพับ หรือบทความและเผยแพร่บนเว็บไซต์งานจัดการความรู้ โดยมีอาจารย์แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

          ในฐานะที่เป็น Facilitator คุณสุธาสินี ภัทรวดี มีบทบาทในการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อทำให้บรรยากาศเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากที่สุด รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม ให้สมาชิกในกลุ่มสร้างสาระความรู้ใหม่และได้ฝึกทักษะการนำเสนอ หลังจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะมีการทบทวนซักถามอยู่เสมอว่า สมาชิกในกลุ่มมีข้อเสนอแนะ หรือข้อคิดเห็นอย่างไร เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมให้ตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของสมาชิกในกลุ่ม

          ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับกลุ่ม CoP ชุมชนนักปฏิบัติโรคผิวหนัง คือเรื่องเวลา เนื่องจากเป็นการทำกลุ่มแบบทีมสหสาขา เวลาว่างของสมาชิกแต่ละคนจึงไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถประชุมโดยเจอหน้ากันครบทุกคนได้ จึงหาช่องทางอื่นเช่น การประชุมแบบออนไลน์ เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เนื่องจากกลุ่ม CoP มีการผลิตและเผยแพร่สาระความรู้เป็นจำนวนมากแล้ว การกำหนดประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ยากขึ้น จึงต้องหาความรู้ใหม่ ประเด็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน และทำให้สาระความรู้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

          ผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้ทำ CoP คือบุคลากรภายในภาควิชามีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ทำให้บุคลากรเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และให้ความร่วมมือในการจัดทำสาระความรู้เป็นอย่างดี เกิดช่องทางในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องโรคผิวหนังเพิ่มมากขึ้น โดยปกติแล้วจะทำในรูปแบบแผ่นพับ แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มช่องทางออนไลน์ได้แก่ เว็บไซต์การจัดการความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงสาระความรู้ได้ง่าย และรวดเร็ว… อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> CoP ชุมชนนักปฏิบัติโรคผิวหนัง CoP of the year : The Best of Knowledge Learning...3 ปีซ้อน (104 downloads )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.