บทเรียนประชุมวิชาการคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563
เรื่อง “จัดการความรู้ เพื่อสู้ COVID”
วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563  เวลา 13.00 – 15.00 น.
การถ่ายทอดสดผ่านระบบเน็ตเวิร์ค SIBN โดยเชื่อมต่อผ่าน Si-WiFi

ศ. นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวเปิดการประชุมว่า วัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยมุ่งเน้นเรื่อง ชุนชนนักปฏิบัติ (Community of practices : CoP) เพื่อสกัดความรู้ออกมาเป็น Knowledge asset ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานประจำ มีการติดตาม ประเมินผล จนกระทั่งต่อยอดเป็น CQI ส่งผลให้ตัวชี้วัดสำคัญของคณะฯ ดีขึ้น เช่น ด้านความปลอดภัย กระบวนการทำงาน การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จึงต้องมีการจัดการความรู้ร่วมกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งคณะฯ มีการรวบรวมความรู้ในเรื่องต่าง ๆ บริหารจัดการให้เกิดคุณภาพต่อผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ โดยเกิดแนวปฏิบัติ และนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาหลายอย่างที่นอกจากจะทำขึ้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ยังสามารถพัฒนาต่อยอดต่อการรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย โรงพยาบาลศิริราชมีเป้าหมายจะเป็นสถาบันการแพทย์ของแผ่นดิน เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะแก่มวลมนุษยชาติ ซึ่งการจัดการความรู้ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะสามารถนำพาศิริราชไปถึงเป้าหมายนั้นได้

พว. นันทพร พ่วงแก้ว ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ กล่าวถึงการจัดการความรู้ (Knowledge management) ว่าความรู้ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ความรู้ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) และความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อีกส่วนหนึ่งคือการจัดการ เมื่อมีความรู้แต่ไม่มีการจัดการความรู้ ทำให้การนำความรู้มาใช้เป็นเรื่องยาก และไม่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ ทำให้ความรู้ที่มีเสียเปล่า งานไม่ต่อเนื่องและไม่มีคุณภาพ เช่นในกรณีที่มีบุคลากรลาออกหรือเกษียณอายุราชการ การจัดการความรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญในองค์กร ซึ่งองค์ประกอบของการดำเนินงานด้าน KM ประกอบด้วย คน กระบวนการ และเทคโนโลยีการจัดการ โดยคณะฯ ได้กำหนด Link-Share-Learn เป็นกลยุทธ์ในการจัดการความรู้

คณะฯ มีการใช้เครื่องมือ KM ที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ Community of Practice : CoP หรือ ชุมชนนักปฏิบัติ ที่นับว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ซึ่งคณะฯ มีการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในหน่วยงานทางคลินิกและหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในครั้งนี้มีตัวอย่างกลุ่ม CoP ที่มีการดำเนินการกลุ่มได้แก่ CoP กระบวนการพัฒนางานบริการและระบบประกันสุขภาพ CoP งานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และ CoP เทคนิคการทำความสะอาด มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

นางดวงกมล โกวิทวิบูล หัวหน้างานสิทธิประกันสุขภาพ จาก CoP กระบวนการพัฒนางานบริการและระบบประกันสุขภาพ กล่าวว่า งานสิทธิประกันสุขภาพมีหน้าที่ให้บริการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลและยืนยันการใช้สิทธิในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้คำปรึกษา/แนะนำการใช้สิทธิ รวมทั้งประสานการใช้สิทธิการรักษาตามสิทธิประโยชน์ของกองทุนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตามสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ รวบรวมประกาศ/ระเบียบ/แนวทางปฎิบัติที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของกองทุนต่างๆ ที่ถูกต้องและทันสมัย เพื่อสามารถให้ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ แก่ ผู้ป่วย  ญาติบุคลากรภายใน และภายนอกหน่วยงาน   รวบรวมและจัดเก็บเอกสารประกอบการใช้สิทธิเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน  รวมทั้งประสานงานแจ้งผลการรักษาไปยังต้นสังกัดของผู้ป่วยเพื่อให้ทราบแผนการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> จัดการความรู้ เพื่อสู้ COVID (99 downloads )

สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมวิชาการได้ที่
เว็บไซต์ของงานพัฒนาคุณภาพ ในส่วนของ เมนู Download เอกสาร
www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.