ถอดบทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 23
Synergy for Safety and Well-being (ผนึกกำลังเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะ)
เรื่อง “People Engagement to Healthcare System ทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพ”
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 08.30 – 10.00 น.
ณ ห้องสัมมนา Sapphire 204 ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี

วิทยากร
ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
ดร.อำนาจ ประสิทธิ์ดำรง : บริษัท เดอะ ซีนิเซ่นส์ จำกัด
คุณอนุพงษ์ มาคำ : บริษัท บลูสกาย แชนแนล จำกัด

ผู้ดำเนินรายการ
พ.อ.ทพ.ธนกฤต นพคุณวิจัย :โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์

คุณอนุพงษ์  มาคำ  กล่าวว่า เมื่อต้นปี 2563 ทุกคนต่างหวาดผวากับโรคอุบัติใหม่ เราต้องยอมรับว่า เวลานั้นความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดนี้ วิธีการป้องกัน มาตรการที่จะหยุดการแพร่ระบาดน้อยมาก โรงพยาบาลสนาม แทบจะไม่มี ซึ่งในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนจะมีบทบาท ดังนี้

  1. การเผยแพร่ วิธีการเตรียมรับมือกับโรคอุบัติใหม่ มาตรการป้องกันจากทางกระทรวงสาธารณะสุข และการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 (COVID-19) ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียหลายช่องทาง คือ Facebook fanpage, YouTube, Instagram เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง
  2. การรับบริจาคเตียง มอบหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้แต่ละโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ การบริจาคพื้นที่สำหรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม การมอบเครื่องช่วยหายใจให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี การมอบหน้ากากอนามัยให้กับเรือนจำพิเศษธนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดการระบาดมาก เพราะผู้ต้องขังอยู่อย่างแออัด และสุดท้ายคือ การนำอาหาร และเครื่องดื่ม ให้คนที่กักตัว โดยได้รับการสนับสนุนปลากระป๋องและน้ำดื่ม จาก บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด

การมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพ คือ การต่อยอดจากนโยบาย (policy) ของกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งระบบที่ดี หรือการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ต้องควบคู่ไปกับจริยธรรมที่ถูกต้อง

พ.อ.ทพ.ธนกฤต  นพคุณวิจัย กล่าวเพิ่มเติมในส่วนหน้าที่ของสื่อมวลชน คือ ผลิตสิ่งที่มีคุณค่าในเชิงข่าวสารที่มีคุณภาพ การเผยแพร่ข้อมูลเน้นความถูกต้อง มีแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกภายในประเทศ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเข้าช่วยเหลือต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้

ดร.สุรชัย  สถิตคุณารัตน์ กล่าวว่า บทบาทของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เปรียบเสมือนต้นน้ำในเชิงการเรียน การศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ดูแลระบบการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เข้าสู่ระบบโรงพยาบาล และเมื่อปี 2556 ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กำหนดภาพอนาคตระบบสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี 2556-2566 เป็น 3 เหตุการณ์

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> People Engagement to Healthcare System ทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบบริการสุขภาพ (57 downloads )

ผู้บันทึกบทเรียน
นายเอกราช จันทรประดิษฐ์
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านบทเรียน HA National Forum อื่น ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.