ถอดบทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 23
Synergy for Safety and Well-being (ผนึกกำลังเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะ)
เรื่อง “SHA Facilitator Story & talk”
วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 – 14.30 น.
ณ ห้องสัมมนา Sapphire 202 ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี
วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทพ.วีระ อิสรธานันท์ (โรงพยาบาลแม่จัน)
อาจารย์วิภา วณิชกิจ (ผู้เยี่ยมสำรวจ สรพ.)
คุณทัศนีย์ สิงห์ธนะ (โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว)
ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ.วัชรพล ภูนวล (โรงพยาบาลอุตรดิตถ์)
สถานพยาบาลต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ (Spiritual Healthcare Appreciation) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า SHA มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร กระบวนการดูแลผู้ป่วย โดยที่บุคลากรต้องมีความสุขในการทำงาน แต่ละโรงพยาบาลที่ทำ SHA จะมี SHA Facilitator ซึ่งวิทยากรตัวแทนจากทั้ง 3 โรงพยาบาลมีบทบาทหน้าที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกันออกไป
คุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะก้าวมาเป็น SHA Facilitator
โครงสร้าง คณะทำงาน และการสร้างแรงจูงใจในการเป็น SHA Facilitator
คุณทัศนีย์ สิงห์ธนะ เล่าประสบการณ์การเป็น SHA Facilitator ของโรงพยาบาสมเด็จพระยุพราชปัวว่า คนที่เข้ามาเป็น SHA Facilitator ควรมีใจรักอยากที่จะทำ และมาจากสหสาขาวิชาชีพ ที่ปัว เรียก SHA Facilitator ว่า นักกระบวนกร ผู้มีสัมพันธภาพที่ดีกับทุกคน พอก้าวมาสู่การเป็น SHA Facilitator จะมีการฝึกอบรมเสริมทักษะทั้งด้านจิตใจ การพูด การฟัง การจับประเด็น การสังเกต การเข้าร่วมเรียนรู้กับกลุ่มที่มีความคิดต่าง โดยการเป็น SHA Facilitator สิ่งสำคัญสุด คือการเปิดใจรับฟังผู้อื่น มีความมั่นคงภายใน รู้จักนิ่ง สงบและสังเกตคนรอบข้างโดยไม่ตัดสินถูกผิดจากสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินทันที ทางโรงพยาบาลปัว ผู้บริหารให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้คุณทัศนีย์ได้ร่วมอบรมร่วมกับสถาบันต่าง ๆ นำประสบการณ์ที่ได้มาแบ่งปันกับทีมงานที่โรงพยาบาลปัว
อาจารย์วิภา วณิชกิจ เล่าประสบการณ์การเป็น SHA Facilitator ตั้งแต่ที่ตนเองอยู่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีการทำ SHA เชิงโครงสร้าง ที่มีการปรับรูปแบบการดำเนินการที่เน้น Healing กับคนภายนอก ทางโรงพยาบาลมองจุดเด่นของแต่ละคน ดึงให้จุดเด่นเป็นตัวอย่างกับคนอื่น ๆ ในองค์กร สร้าง empower อย่างต่อเนื่อง
ทพ.วีระ อิสรธานันท์ เล่าประสบการณ์การเป็น SHA Facilitator ว่า เริ่มต้นในการเป็น Facilitator ของ HA ปี 2545 ซึ่งในการเป็น Facilitator นั้น ต้องพร้อมเรียนรู้ และรับมือในทุกเรื่อง ทั้งความกดดัน ความคาดหวังจากผู้บริหาร โดยเฉพาะช่วงรับเยี่ยมสำรวจ ที่ Facilitator ต้องคอยช่วยเหลือและผลักดันทุกหน่วยงานให้ก้าวผ่าน โดยคนที่เป็น SHA Facilitator จะต้องมีจิตวิญญาณในองค์กร และความผูกพันที่ยาวนานกับองค์กรนั้น เข้าใจ เข้าถึงแต่ละหน่วยงาน
คนที่เป็น SHA Facilitator ส่วนใหญ่จะเติบโตมาจาก Facilitator HA โรงพยาบาลจะเลือกคนที่รู้จักคุณภาพ มีใจคุณภาพที่อยากทำ ดูจาก hard side และซึมซับผ่าน soft side ด้วยการฝึกปฏิบัติด้านต่าง ๆ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> SHA Facilitator Story & talk (37 downloads )
ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาวปารวี สยัดพานิช
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล