บทเรียนการประชุมงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Fair) ประจำปี 2565
เรื่อง “ทักษะทันยุค แสนสนุก สุขสำเร็จทั้งองค์กร”
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 14.30-15.45 น.
ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 และ
ถ่ายทอดสดผ่านระบบเน็ตเวิร์ค SiBN, IPTV, Facebook งานพัฒนาคุณภาพ

วิทยากร
ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการเศรษฐกิจของ The Standard

ผู้ดำเนินการอภิปราย
อ. นพ.อัครินทร์ นิมมานนิตย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ดำเนินรายการเศรษฐกิจของ The Standard กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้ประวัติศาสตร์ คือ ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีอุปนิสัยไม่เหมือนกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ความแตกต่างของคนในแต่ละชาติย่อมแตกต่างกัน เช่น ถ้าลองถามว่าสิ่งที่อยู่ในขวดน้ำคืออะไร คนไทยอาจตอบทันทีว่าน้ำ แต่คนเยอรมันจะตอบว่า H2O เป็นต้น โดยหนึ่งในผลสำรวจของต่างประเทศ พบว่า วิธีการแก้ไขปัญหา (problem solving) ของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เช่น คนเยอรมันจะแก้ไขแบบตรงไปตรงมา จาก problem สู่ solution คนอเมริกาเมื่อเกิดปัญหามักจะขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ จึงจะเจอ solution เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาทักษะของคนไทยนั้น ควร เริ่มต้นจากการวิเคราะห์อุปนิสัย ของคนไทยว่าเป็นอย่างไร โดย ดร.วิทย์ กล่าวว่าได้สอบถามความคิดเห็นชาวต่างชาติในหอการค้าและได้คำตอบจากหลายความคิดเห็นเกี่ยวกับคนไทยว่าเป็น The choice are the more creative people in the world (คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดในโลก) but your implement you creative activity only in the last minute and in the crisis time (แต่คนไทยมักใช้ความคิดสร้างสรรค์ในนาทีสุดท้าย และภาวะคับขัน) ยกตัวอย่างเมื่อปี 2554 ประเทศไทยเกิดเหตุอุทกภัย ผู้บริหารได้มอบหมายให้พนักงานคนไทยคิดหาวิธีป้องกันและแก้ไขล่วงหน้า แต่ระยะเวลาผ่านไปก็ยังไม่ได้แผนดำเนินงานป้องกันและแก้ไขกลับมา จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมบริเวณโดยรอบ คนไทยสามารถกำหนดวิธีที่ทำให้น้ำไม่เข้าพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจาก reflection ของชาวต่างชาติหลายท่านมีมุมมองความคิดเห็นต่อคนไทยว่าเป็นคนขยัน เก่ง มีความคิดสร้างสรรค์ แต่อ่อนไหวกับการใช้คำพูด ไม่กล้าที่จะพูดตรงไปตรงมา

ในยุคที่มีคนแตกต่างกันหลาย generation และเป็นยุคที่คนสื่อสารกับ social media หรือสิ่งที่คิดมักไม่พูด และสิ่งที่เห็นมักไม่ action นั้น ปัญหาที่พบและทักษะที่คนไทยต้องเพิ่มเติม คือ การไม่สื่อสารกัน โดยทักษะในอนาคตที่ต้องการ คือการผสมผสานมุมมองของทุก generation เนื่องจากทุกคนย่อมมี perspective ที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างการแสดงความคิดเห็นในการทำประเมินผลปลายปี ซึ่งคนไทยมักใช้เวลาในการประเมินน้อย ในขณะที่ต่างชาติใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการที่จะพูดคุยและวิเคราะห์ประเมิน โดย ดร.วิทย์เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า ในการประเมินผู้ประเมินจะบอกว่าชอบอะไรในตัวคุณ 3 ข้อ และอะไรคือสิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้ปรับตัว 3 ข้อ และให้สลับกันพูด โดยให้ลูกน้องพูดกับเจ้านายบ้าง ซึ่งการที่จะบอกว่าลูกน้องเป็นอย่างไรคือสิ่งที่ผู้ประเมินได้คิดมาแล้ว ทั้งนี้คนไทยมีทักษะในการใช้คำพูดที่ดี จึงอยากให้นำส่วนนั้นมาใช้

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> ทักษะทันยุค แสนสนุก สุขสำเร็จทั้งองค์กร (22 downloads )

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.