สรุปบทเรียนจากงานสัมมนาวิชาการหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2566
เรื่อง “การบริหารความรู้เพื่อความยั่งยืนขององค์กร”
โดย ผศ. ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา (สาขามัลติมีเดีย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)
ความยั่งยืน (Sustainability) คือ การพัฒนาและรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นให้ดำรงสภาพคงอยู่ต่อไป โดยสิ่งที่คงอยู่ควรเป็นสิ่งที่ดี ไม่ส่งผลกระทบกับคนรุ่นหลัง เป็นสิ่งที่ทำให้มีคุณภาพชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมที่ดี ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก แม้ปัจจัยภายนอกจะเป็นสิ่งที่จัดการได้ยาก แต่เราต้อง Ready to move Ready to change ต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อพร้อมรับกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามากระทบได้
เป้าหมายของความยั่งยืน ไม่ได้หมายถึง คงที่ตลอดไป เพราะความยั่งยืนสามารถเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ โดยเป้าหมายนั้น มีตั้งแต่เจตนารมณ์/ปรัชญา กระบวนการ ระบบ ผลผลิต และผลลัพธ์ พิจารณาถึง output, outcome และ impact
ตัวอย่าง ความยั่งยืนของระบบการศึกษา
ความยั่งยืนของบัณฑิต ในระบบการศึกษานั้น ทุกหน่วยงานขององค์กรมีส่วนทำให้เกิด impact แต่สัดส่วนความสำเร็จอาจแตกต่างกันไป เพื่อใช้ในการพัฒนา soft skill และ hard skill โดยสิ่งสำคัญควรพิจารณาถึงหัวใจหลัก และผลกระทบที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากการกำหนด goal หรือเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นหนึ่งในการทำให้เกิดความยั่งยืน (Sustainability)
กระบวนการจัดการความรู้ (KM) ไม่ใช่ของสำเร็จรูป ต้องมีความเข้าใจ มีการกำหนดนโยบาย และกลยุทธ์ นำสู่แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยการบริหารจัดการที่ดีต้องมีการวัดผลลัพธ์ เพราะตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการวัดความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการจัดการในทุกเรื่อง ทั้งนี้แนวทางการสร้างตัวชี้วัดที่ดีควรสร้างร่วมกัน และสร้างให้เกิดความท้าทาย ซึ่งตัวชี้วัดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปบทเรียน การบริหารความรู้เพื่อความยั่งยืนขององค์กร
สรุปบทเรียน โดย ชลิตา มิ่งขวัญ งานจัดการความรู้
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล