บทเรียนการประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 24Growth Mindset for Better Healthcare System
(ระบบบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่กว้างไกล)
เรื่อง “Learn from Good Practice: Benchmark อย่างไรให้ปัง ปัง ปัง
วันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 13.15 – 14.45 น.
ณ ห้องสัมมนา Sapphire 120 ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี

วิทยากร
ดร.เอมอมร คำนุช
นายสงวน แก้วขาว
พว.นิภาพร จีระบุญ
พว.วินิตย์ หลงละเลิง

THIP (Thailand hospital indicator program) คือ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบ วัดระดับคุณภาพโรงพยาบาลของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สถานพยาบาลใช้ประโยชน์จากการเปรียบเทียบเพื่อยกระดับผลลัพธ์ขององค์กร พัฒนาตัวชี้วัดเปรียบเทียบในการวัดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล และบูรณาการตัวชี้วัดร่วมของภาคีที่เป็นมาตรฐาน พัฒนาองค์ความรู้จากการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศของเครือข่ายสถานพยาบาล และพัฒนากลไกเครื่องมือ/เทคโนโลยีระบบสารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล โดย นายสงวน แก้วขาว กล่าวถึงเส้นทางของ THIP คือ

1. กำหนดเป้าหมายของการวัด
2. เลือกตัวชี้วัด (เปรียบเทียบ)/เลือกกลุ่มเปรียบเทียบ
3. กำหนดรูปแบบ/ระบบการวัด
4. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
6. ทบทวนผลการวัด

สิ่งที่ทำให้ THIP ประสบผลสำเร็จ

1. Leadership ต้องมีการวางแผนและมองว่าทีมจะขับเคลื่อนอย่างไร
2. Teamwork & communication ต้องมองว่าทีมจะประกอบด้วยใครบ้าง และใครได้ใช้ประโยชน์
3. Data sharing มีการแชร์ข้อมูล data ระหว่างทีมโรงพยาบาล
4. Measurement & benchmark เห็นการเปรียบเทียบตัวชี้วัดระหว่างองค์กร
5. Improvement ทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงและเกิดการพัฒนาคุณภาพ
6. Best practice เกิด best practice และมีการแชร์ความสำเร็จระหว่างองค์กรที่ดีใน THIP

ดร.เอมอมร คำนุช กล่าวถึงหลักการใช้ KPIs (Key performance indicator) โดยสิ่งสำคัญของตัวชี้วัดอย่างหนึ่งคือ Data quality ต้องสามารถ tracking the right data วางแผนกระบวนการเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนากระบวนการได้ เช่น การเก็บข้อมูลอัตราการเสียชีวิต ต้องรู้ถึงสาเหตุว่าผู้ป่วยเสียชีวิตจากที่กระบวนการภายในหรือภายนอกสถานพยาบาล หรือเกิดจากสภาวะโรคของผู้ป่วยเอง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทางป้องกันได้ถูกต้อง
KPI ที่ดีต้องวัดให้สอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ขององค์กร วัดในสิ่งที่จำเป็น ถูกต้องและถูกวิธี โดยต้องมี 2 ปัจจัย คือ 1.Measurable (วัดได้) และ 2.มีจุดเปรียบเทียบ (Have a point comparison) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยและผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย โดยการติดตาม KPI เป้าหมายสำคัญ คือการทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) และความรู้ที่เกิดขึ้นสามารถจัดเก็บเป็นความรู้ขององค์กรที่นำไปใช้ในหน่วยงานอื่นขององค์กรได้ (ภาพที่ 1) สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นและมีความยั่งยืน ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเหมือนเดิม ผลลัพธ์ก็ไม่ต่างจากเดิม และหัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ “คน” ต้องมีทักษะและสมรรถนะที่เหมาะสม

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> Learn from Good Practice: Benchmark อย่างไรให้ปัง ปัง ปัง 

ผู้บันทึกบทเรียน
นางสาววิจิตรา นุชอยู่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านบทเรียน HA National Forum อื่น ๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.