เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) หมายถึง การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดการความรู้ (KM) และการทำงาน

โดยคณะฯ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการความรู้ ดังนี้

  • การสร้างโอกาสการเรียนรู้ คณะฯ มีการนำโปรแกรม Tableau มาใช้ในการสร้างระบบรายงานผลตัวชี้วัด ข้อมูลสำคัญ ระดับคณะฯ และภาควิชา เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน วิเคราะห์ผลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงงานและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะฯ ภาควิชา และหน่วยงานสามารถใช้เทียบเคียงภายใน (internal benchmark) ทำให้ทราบว่าที่ไหนทำได้ดี ก็จะเป็นแหล่งต้นแบบให้กับทีมอื่นได้เรียนรู้ เกิดการถ่ายโอนความรู้ระหว่างกัน รวมทั้งรู้ลำดับการดำเนินการของภาควิชาส่งผลให้ยกระดับการพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาคนทั้งคณะฯ
  • การจัดเก็บและเผยแพร่ความรู้
  1. ระบบ Intranet ได้แก่ ระบบเอกสารคุณภาพ เป็นคลังความรู้ที่ใช้รวบรวม จัดเก็บความรู้สำคัญ เช่น นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ และคู่มือการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน ภาควิชา และคณะฯ เพื่อให้บุคลากรภายในคณะฯ ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ระบบ Lotus Notes (SiNet) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการคณะฯ ให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วและสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งาน เช่น การแจ้งซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ระบบรายงานอุบัติการณ์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีระบบปฏิบัติงาน ได้แก่ SAP, E-document เป็นระบบที่ใช้ในการสนับสนุนการทำงาน การส่งเอกสารข้อมูลสำคัญในการปฏิบัติงาน
  1. ระบบ Internet ได้แก่ Siriraj KM website, website คณะฯ ภาควิชา และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นคลังความรู้ที่ใช้รวบรวม จัดเก็บความรู้ต่าง ๆ สำหรับบุคลากรภายในและบุคคลภายนอกคณะฯรวมทั้งเป็นแหล่งให้บุคลากรค้นหาความรู้จากภายนอก
  • การถ่ายโอนความรู้ คณะฯ นำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากรได้นำความรู้ไปปรับใช้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคนและงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบ IPTV เป็นระบบการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงในรูปแบบ วิดีโอออนไลน์ ผ่าน IP address (https://iptv.mahidol.ac.th) ของเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ระบบ SiBN เป็นระบบในการถ่ายทอดสัญญาณภาพ/เสียง ผ่านระบบ network ภายในคณะฯ และระบบ SELECx เป็นระบบสนับสนุนงานทางด้านการศึกษา เป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ (E-learning) เพื่อให้บุคลากรภายในคณะฯ ใช้เพิ่มเติมความรู้และทักษะสำคัญ
  • การแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เกิดการโต้ตอบระหว่างกัน (2 ทาง) ผ่านทาง Virtual conference (เช่น Zoom, Webex, Meet, Tele Conference) Social Network (เช่น Facebook, Twitter, Youtube) Application ต่างๆ (เช่น Line, we chat และ Si vWork (สำหรับบุคลากรภายในคณะฯ))

          จะเห็นได้ว่าการที่คณะฯ มีการนำเทคโนโลยีที่มีการออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของคณะฯ และเหมาะสมกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อช่วยในการแลกเปลียนเรียนรู้ จัดเก็บ เผยแพร่ และถ่ายโอนความรู้ ทำให้เกิดการสร้างการเรียนรู้ในวงกว้าง ส่งผลให้มีการใช้และสร้างความรู้ในการทำงาน และกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง ริเริ่มสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และ สามารถต่อยอดขยายผล ทำให้ยกระดับกระบวนการทำงานของคณะฯ เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลลัพธ์ที่ดีที่ตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคณะฯ เป็นการขับเคลื่อนให้คณะฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology)

การปรับเปลี่ยนองค์กรการจัดการความรู้ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ การให้อำนาจแก่บุคคล พลวัตการเรียนรู้

1 thought on “Learning Technology

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.