Facilitator หรือ ผู้นำ คุณอำนวย หรือคนกลาง มีหน้าที่เพื่อ… เชื่อมคนทำงานเข้าด้วยกัน ช่วยผลักดันให้เกิดความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนางานและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร กระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม เพื่อดึงความรู้/ความคิดที่สำคัญออกมาจากสมาชิกให้ได้มากที่สุด ซึ่งความรู้บางเรื่องอาจกลายเป็น Best Practice โดย Facilitator จะใช้เทคนิคและกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นหัวใจสําคัญ

บทบาท Facilitator

ผู้ประสานงาน (Coordinator) ช่วยเหลือและสนับสนุนให้ทีมมีส่วนร่วมมากที่สุด จนนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้

พี่เลี้ยงในการเรียนรู้ (Learning Coach) ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้เล่าถึงประสบการณ์และวิธีการแก้ปัญหา นำไปสู่การพัฒนาและจัดการงานหรือตนเองให้ประสบความสำเร็จ

ผู้กระตุ้น (Catalyst) สร้างการเรียนรู้ผ่านคำถามอย่างสร้างสรรค์ ในการดึงพลังหรือศักยภาพของสมาชิกให้เห็นถึงปัญหา สาเหตุ เป้าหมาย และทางออกร่วมกัน

ผู้สร้างบรรยากาศ (Climate Setter) ให้กลุ่มผ่อนคลาย เป็นกันเอง และสร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ช่วยการสื่อสาร (Communicator Enabler) ช่วยให้สมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ ความรู้ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ และเปิดใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็นสมาชิกในกลุ่ม

ผู้สังเกตการณ์ (Observer) รับรู้ถึงพฤติกรรม ความรู้สึก วิธีคิดของผู้เข้าร่วม และนำมาปรับกระบวนการให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

Facilitator ควรจะ…

  • ศึกษาประเด็นที่จะพูดคุยล่วงหน้า
  • สร้างบรรยากาศที่ดีในการพูดคุย ไม่ควบคุมกำกับกลุ่มให้ตึงหรือหย่อนเกินไป
  • คอยกระตุ้นให้สมาชิกเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตนเอง ไม่ขัดจังหวะในการเล่าเรื่อง
  • ไม่พูดชี้นำออกนอกเรื่อง ถ้าสมาชิกเล่าเรื่องออกนอกประเด็น พยายามซักถาม และนำเข้าสู่ประเด็น
  • รับฟังความคิดเห็นสมาชิกกลุ่ม ไม่ใช้ความคิดเห็นตนเองเป็นหลัก
  • ควบคุมเวลาในการพูด เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ผู้นำแบบ Facilitator 
          สามารถกระตุ้นและเสริมพลังผู้ปฏิบัติงานได้ มีทักษะในการดึงประสบการณ์ และวิธีการแก้ปัญหา พัฒนาเป็นองค์ความรู้และอาจต่อยอดเป็นนวัตกรรม มีทักษะในการทำงานเป็นทีมรับฟังความเห็นของสมาชิกในทีม และสร้างความบรรยากาศกันเอง ทำให้สมาชิกเปิดใจแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

ดาวน์โหลดบทความ >> เทคนิคการเป็น Facilitator (266 downloads )  

แบบทดสอบ และแบบประเมินสื่อวิดีโอให้ความรู้ (KM Learning)

เรียบเรียงโดย
นางสาวปารวี  สยัดพานิช
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.