สรุปบทเรียนจากงานสัมมนาวิชาการหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2566
เรื่อง “How to be an Innovation Organization”
โดย ผศ. ดร.รวิน ระวิวงศ์ (ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ)
เมื่อพูดถึงพิพิธภัณฑ์หรือ museum หลายคนมองว่ามีบรรยากาศคล้ายกับการไปห้องสมุดสมัยก่อน จึงหาแนวทางสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยนำเรื่อง Innovation เข้ามาใช้ ซึ่งช่วงโควิดนั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ช่วยสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้น หลายพิพิธภัณฑ์ต้องปิดตัว ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในปัจจุบันและอนาคต อีกส่วนคือเรื่องการบริหารจัดการ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลแต่ยังไม่เพียงพอ การเป็นรัฐวิสาหกิจ มีสหภาพแรงงาน แรงงานสัมพันธ์แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรนวัตกรรม หน้าที่ของผู้บริหารคือ ทำ ain เป็น gain เปลี่ยนเรื่องน่าเบื่อให้เป็นเรื่องสนุก สร้างองค์กรเป็น lean dynamic ที่ทันสมัย โดยเครื่องมือที่ใช้คือนวัตกรรมต่าง ๆ
เป้าหมายการแก้ปัญหาคือการทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งที่ทุกคนอยากไป ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีบริการแบบ world class เป็นสถานที่ที่ทุกคนอยาก check in โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัด ปรับพิพิธภัณฑ์ให้เป็น community isolation พัฒนาเป็นแหล่งบ่มเพาะอาชีพ ทำนิทรรศการอาชีพต่าง ๆ สร้างวิทยาศาสตร์ง่าย ๆ ที่เหมาะสำหรับทุกคน กลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นเด็ก ทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก มีของเล่นที่สอดแทรกองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฝึกทักษะ สร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว ร่วมกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ๆ
New normal ทำให้เกิดการปรับตัว สร้างคาราวานวิทยาศาสตร์ไปตามสถานศึกษา สามารถควบคุมเรื่อง social distance ได้ สร้างช่องทางออนไลน์ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ในส่วนงบประมาณ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม พัฒนานิทรรศการให้สามารถแสดงในต่างประเทศ และปัจจุบันมีความพร้อมในการจำหน่าย หรือให้เช่าได้ การบริการจัดอบรมให้ความรู้ การสตาฟสัตว์ ซึ่งจะเป็นธุรกิจสำคัญในอนาคต อีกส่วนคือ Partners จากบริษัทต่าง ๆ เช่น inthanin, Esso
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปบทเรียน How to be an Innovation Organization
สรุปบทเรียน โดย ปารวี สยัดพานิช งานจัดการความรู้
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล