พว. กาญจนา รุ่งแสงจันทร์ พยาบาลออสโตมีและแผลพยาบาลชำนาญการพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มีประสบการณ์ในการทำกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น member historian หรือได้รับบทบาทเป็น facilitator ในหลายกลุ่ม CoP เช่น CoP ป้องกัน VAP (Ventilator Associated Pneumonia), CoP แผลและออสโตมี (Wound and Ostomy) เป็นต้น
ด้วยบทบาทของการเป็น Facilitator จึงนำเครื่องมือ KM ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม CoP หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ Dialogue, Before Action Review (BAR), After Action Review (AAR), Story telling ซึ่งเคล็ดลับการใช้เครื่องมือเหล่านี้คือ “การใช้เครื่องมือที่เหมือนไม่ได้ใช้” นั่นคือ ต้องทำให้เครื่องมือเหล่านี้กลมกลืนไปกับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากที่สุด เช่น การทำ BAR ทุกครั้งเมื่อรวมกลุ่มก่อนเริ่มทำกิจกรรม จะมีการประชุม facilitator และ core team เพื่อตั้งเป้าหมายและกำหนดวัตถุประสงค์สำคัญของการทำกิจกรรมในครั้งนั้น ๆ หลังการจัดกิจกรรมจะใช้เครื่องมือ AAR โดยแบ่งเป็น 2 รอบคือ ทำร่วมกับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกออกความคิดเห็นว่าสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมคืออะไร จากนั้นจะมีการ AAR กับ core team อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่สมาชิกได้เรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ของ core team หรือไม่ และเป็นการทบทวนการทำงานของ core team ว่า ต้องมีการพัฒนาเรื่องการจัดกิจกรรมในจุดใดบ้าง โดยมีการจดบันทึกการทำกิจกรรมหรือการประชุมในแต่ละครั้งเสมอ เพื่อให้สามารถทบทวนและติดตามความก้าวหน้าได้
ดาวน์โหลดบทความเพิ่มเติมได้ที่ >> อำนวยความรู้ พร้อมการเรียนรู้ (101 downloads )