Siriraj Concurrent Trigger Tool หรือเรียกย่อ ๆ ว่า SiCTT เป็นเครื่องมือที่คณะฯ พัฒนาต่อยอดมาจากเครื่องมือ Global Trigger Tool ของ Institute of Healthcare Improvement ซึ่งใช้ในการค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ E ขึ้นไป โดยการทบทวนเวชระเบียนที่สุ่มขึ้นมา และวัดอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อเนื่อง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2549 โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. เริ่มนำมาใช้ในประเทศไทย และมีการกำหนดเป็นเครื่องมือหนึ่งในการค้นหาอุบัติการณ์ความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยที่กล่าวถึงในมาตรฐาน HA
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้ความสำคัญและมีการพัฒนาแนวทางแก้ไขความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง แต่การทบทวนเวชระเบียนโดยใช้ Global Trigger Tools เป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงหลังจากที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว ทำให้ผู้ป่วยเหล่านั้นอาจไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ดังนั้นเพื่อให้การดูแลรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย สามารถประเมินและดักจับปัญหาก่อนที่จะเกิดอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในขณะที่ผู้ป่วยยังอยู่ในโรงพยาบาล จึงพัฒนาเครื่องมือ Siriraj Concurrent Trigger Tool (SiCTT) ที่พัฒนาต่อยอดจากเครื่องมือ Global Trigger Tool ในปี พ.ศ. 2555
ซึ่งทีมแรก ๆ ที่มีการใช้เครื่องมือ SiCTT ในการดักจับปัญหาก่อนที่จะเกิดอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาลศิริราชของเราได้แก่ทีม Acute arterial occlusion, Active breeding post cardiac surgery และ Increase intracranial pressure วันนี้ KM Society จะพาไปดูกันว่าทีมบุกเบิกการใช้เครื่องมือ SiCTT ที่ดำเนินการจนกระทั่งประสบความสำเร็จเกิดเป็นองค์ความรู้ มีแนวปฏิบัติที่ดี จะมีที่มาที่ไป มีกระบวนการอย่างไรบ้าง ติดตามได้ใน KM Society : ประสบการณ์การใช้เครื่องมือ SiCTT จากทีมบุกเบิก
ดาวน์โหลด
SiCTT : Acute arterial occlusion (วีดิทัศน์) (225 downloads )
ดาวน์โหลด
SiCTT : Active breeding post cardiac surgery (วีดิทัศน์) (215 downloads )
ดาวน์โหลด
SiCTT : Increase intracranial pressure (วีดิทัศน์) (187 downloads )
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โทร. 0 2419 9009 และ 0 2419 9750
1 thought on “KM Society : ประสบการณ์การใช้เครื่องมือ SiCTT จากทีมบุกเบิก (วีดิทัศน์)”